MyFeed Personalized Content
บทความ

PLAYING: คุณแม่ให้นมลูกควรรู้ ต้องเลือกกิน- ไม่กินอะไร

Add this post to favorites

คุณแม่ให้นมลูกควรรู้ ต้องเลือกกิน- ไม่กินอะไร

คุณแม่หลายคนอาจมีคำถามว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องกินอาหารสำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่? เเล้วอาหารอะไรบ้างที่คุณเเม่ควรเเละไม่ควรรับประทานในช่วงให้นมลูก?

1นาที อ่าน

คุณแม่ให้นมลูกควรกินอาหารพิเศษสำหรับแม่ให้นมลูกมั้ย?

 

คุณแม่ที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีข้อควรปฏิบัติเช่นเดียวกับคุณแม่ตั้งครรภ์ นั่นคือการกินอาหารอย่างสมดุล สิ่งสำคัญคือรักษาพฤติกรรมการกินที่ดีที่เคยปฏิบัติระหว่างตั้งครรภ์ โดยทั่วไปแล้ว แนะนำให้กินอาหารเพิ่มขึ้นอีก 500 แคลอรี จากปริมาณที่เคยกินตามปกติก่อนจะตั้งครรภ์ แต่ว่าก็อาจมากเกินไป หรือน้อยเกินไปสำหรับบางคน ซึ่งขึ้นอยู่กับพลังงานที่สะสมไว้ระหว่างตั้งครรภ์ และยังขึ้นอยู่กับระดับการทำกิจกรรมของแต่ละคนด้วย

  • คุณแม่ควรรับประทานผลไม้สด และผักสดเพิ่มขึ้นอย่างละ 2 ส่วนในทุกๆ วัน โดยอาจกินเพิ่มในมื้อปกติ หรือกินเป็นอาหารว่าง เพื่อให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นอย่างเพียงพอ
  • ดื่มน้ำเปล่าวันละ 1.5 ถึง 2 ลิตรเพื่อให้ได้รับน้ำเพียงพอกับความต้องการ โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อน
  • ร่างกายคุณแม่ยังต้องการแคลเซียมเพื่อคงความแข็งแรงของกระดูก ธาตุเหล็กเพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก โปรตีนและสารอาหารอื่นๆ เพื่อจะได้ส่งต่อสารอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูกผ่านทางน้ำนม
  • การได้รับคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ดีในมื้อเช้าช่วยให้มีพลังเพื่อเริ่มต้นวันได้อย่างดี คุณแม่ควรกินมันฝรั่ง พาสต้า หรือข้าวไม่ขัดสี ถั่วและพืชตระกูลถั่ว ในมื้อกลางวันและมื้อค่ำ อาหารเหล่านี้จะให้พลังงานอย่างต่อเนื่องตลอดวัน คุณแม่อาจกินอาหารมื้อเล็กลงและบ่อยขึ้น เช่นการกินอาหารว่างที่ดีกับสุขภาพตอนสายๆ (ตัวอย่างเช่น แอปเปิ้ลขนาดกลาง กับโยเกิร์ตไขมันต่ำ)

 

พฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ดีของคุณแม่ให้นมจะมีผลกับน้ำนมไหม?

 

การศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่าน้ำนมแม่ดีที่สุดและเหมาะกับลูกแม้ว่าคุณแม่จะมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสมก็ตาม ที่จริงแล้วการได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ก็เพื่อสุขภาพของตัวคุณแม่เอง เพราะร่างกายของคุณแม่จะสร้างน้ำนมที่มีคุณภาพโดยใช้สารอาหารที่เก็บสำรองไว้ เช่นการใช้แคลเซียมที่เก็บไว้ นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ยังช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวจากความเหนื่อยล้าหลังจากคลอดบุตร เพื่อให้สามารถดูแลลูกน้อยได้ ซึ่งการเหนื่อยล้านี้อาจทำให้เกิดความเครียด และทำให้การสร้างน้ำนมของคุณแม่ลดลงได้

 

ผลไม้สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีส่วนช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินของคุณแม่?

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้น้ำหนักตัวลดลงได้จริง โดยฮอร์โมนในร่างกายจะทำให้เกิดการสะสมไขมัน 3-4 กิโลกรัม เพื่อใช้ในการสร้างน้ำนมให้กับลูก และไขมันที่สะสมไว้จะค่อยๆ ลดลงเมื่อแม่ให้นมลูก นอกจากนี้ร่างกายของคุณแม่จะยังคงมีการ “ใช้พลังงานสูง” คล้ายกับนักกีฬา และยังต้องใช้ในการฟื้นตัวจากความอ่อนล้าหลังการคลอดลูก

 

ลูกจะรู้รสชาติอะไรบ้างจากน้ำนมของแม่?

 

มีคนกล่าวว่าอาหารบางอย่าง เช่น กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง กระเทียม หอมหัวใหญ่ พริกชี้ฟ้า และเครื่องเทศบางชนิด ทำให้น้ำนมแม่มี “รสชาติแปลกไปจากปกติ” แต่ไม่เป็นไรค่ะ เพราะลูกน้อยจะคุ้นเคยกับรสชาติเหล่านี้อยู่แล้วแล้วตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ นิสัยและอาหารที่คุณแม่ชอบจะถูกถ่ายทอดให้ลูกตั้งแต่ตอนที่ตั้งครรภ์และต่อเนื่องไปจนถึงการถ่ายทอดผ่านทางน้ำนม ซึ่งประสาทการรับรสของลูกจะเริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ตอนที่เขายังอยู่ในท้องแม่ค่ะ

 

วิธีที่จะช่วยให้แม่มีน้ำนมมากขึ้น

 

มีเรื่องเล่ามากมายจากรุ่นสู่รุ่น เกี่ยวกับวิธีที่ช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมมากขึ้น เช่นการทานยี่หร่า ผักชี งา ผักชีลาว โหระพา และเมล็ดควินัว อาจช่วยให้สร้างน้ำนมเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่สนับสนุนการกล่าวอ้างเหล่านี้ และคุณแม่ให้นมลูกไม่ควรรับประทานมากเกินไป แต่ควรทานทุกอย่างอย่างสมดุล สิ่งสำคัญก็คือ การดื่มน้ำมากๆ ประมาณ 1.5 – 2.0 ลิตรต่อวันเพื่อช่วยเสริมการสร้างน้ำนม การดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอกับความต้องการ คือทางเลือกที่ดีที่สุด

 

ควรงดกินอาหารอะไรบ้างในระหว่างที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่?

 

คุณแม่ให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงหรือลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ โคล่า หยุดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า หรือซื้อยากินเอง และต้องมั่นใจว่าผลไม้และผักถูกล้างให้สะอาดแล้ว เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเข้าไปในน้ำนม


 

ชวนให้รู้จัก LPR จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่พบในนมแม่ 

 

นมแม่เป็นโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับทารก ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมทั้ง จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ LPR, โอเมก้า และดีเอชเอ คุณแม่จึงควรให้นมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนหรือนานที่สุดเท่าที่จะให้ได้

หนึ่งในจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่กำลังได้รับความสนใจคือ จุลินทรีย์ LPR เพราะเป็นจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่มีงานวิจัยรองรับมากที่สุด และมีผลการศึกษาที่มีความน่าเชื่อถือสูงรองรับว่าช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และมีคุณสมบัติโดดเด่นที่สามารถเกาะติดเยื่อบุลำไส้ได้ดี ซึ่งการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกกว่าจุลินทรีย์ก่อโรคเป็นสิ่งที่มีผลดีต่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร และภูมิคุ้มกัน
 

 


อ้างอิง
- อาหารสำหรับคุณแม่ให้นมบุตร, เข้าถึงได้จาก
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/august-2020/nutrition-breastfeeding-mother
- แม่ลูกอ่อนห้ามกินอะไร เมนูไหนเป็นอาหารต้องห้าม ชวนคุณแม่ลูกอ่อนมาอ่านกัน, เข้าถึงได้จาก
https://th.theasianparent.com/something-pregnant-cant-eat
- Lara-Villoslada F, et al. Br J Nutr. 2007 Oct;98 Suppl 1:S96-100.