อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

09.05.2024

การจาม หายใจเสียงวี้ด น้ำตาไหล อาการเหล่านี้มักเป็นอาการของโรคภูมิแพ้หรืออาการภูมิแพ้ในเด็ก คุณแม่อาจรู้สึกกังวลถึงผลกระทบของภูมิแพ้ต่อเรื่องอาหารการกินในชีวิตประจำวันของลูก เรื่องนี้เป็นคำถามที่คุณแม่อยากทราบคำตอบ แล้วคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันโรคภูมิแพ้ในเด็กได้หรือไม่

headphones

PLAYING: อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

อ่าน 3 นาที

 

สรุป

  • ภูมิแพ้ในเด็ก เป็นการตอบสนองของร่างกายที่ผิดปกติต่อสิ่งแปลกปลอมซึ่งโดยปกติไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย หากคุณแม่และคุณพ่อเป็นภูมิแพ้ ลูกก็จะมีโอกาสเกิดภูมิแพ้มากกว่าปกติ โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามเรียนรู้ สังเกตหาสารก่อภูมิแพ้และพยายามหลีกเลี่ยงสารเหล่านั้น ซึ่งช่วยลดการเกิดอาการภูมิแพ้ได้
  • วิธีที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ในวัยเด็ก อาทิ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หรือการเลือกรับประทานโปรตีนชนิดที่ผ่านการย่อยมาแล้วบางส่วน เหมาะสำหรับลูกน้อยที่ระบบย่อยอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่ และป้องกันการเกิดภูมิแพ้
  • น้ำนมแม่มีโปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins ) ซึ่งง่ายต่อการ ดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย อีกทั้งยังมีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด ช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ และระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ด้วย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร

 

ภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร

โรคภูมิแพ้ในเด็ก เป็นการตอบสนองของร่างกายที่ผิดปกติต่อสิ่งแปลกปลอมซึ่งโดยปกติไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย ตัวอย่างเช่น นมวัวอาจกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ในบางคน ความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ในเด็กเริ่มต้นจากตัวคุณแม่เอง หากคุณแม่และคุณพ่อเป็นภูมิแพ้ ลูกก็จะมีโอกาสเกิดภูมิแพ้มากกว่าปกติ ซึ่งอาจมีการแสดงอาการต่อสารกระตุ้นภูมิแพ้คนละชนิดกับคุณพ่อคุณแม่ก็ได้

 

ภูมิแพ้ในเด็ก อาจเกิดจากการได้รับสารกระตุ้นภูมิแพ้

อาการภูมิแพ้ในเด็ก ถูกกระตุ้นเมื่อร่างกายได้รับอาหารหรือสารในสิ่งแวดล้อมที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก แต่คุณแม่ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารทั้งหมดหรือห้ามไม่ให้ลูกออกไปเล่นสนุกนอกบ้าน ลูกน้อยยังคงต้องการสารอาหารจากการกินที่หลากหลายและสมดุล

 

ภูมิแพ้ในเด็ก อาจเกิดจากการได้รับสารกระตุ้นภูมิแพ้

 

การรักษาโรคภูมิแพ้ในเด็ก

กลับมากับคำถามที่ว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะป้องกันการเกิดภูมิแพ้ในเด็ก ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ได้ผลอย่างแท้จริงสำหรับโรคภูมิแพ้ เมื่อเกิดภาวะภูมิแพ้ จึงเป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับการใช้ชีวิตทั่วไป คุณแม่จึงต้องพยายามเรียนรู้ สังเกตหาสารก่อภูมิแพ้และพยายามหลีกเลี่ยงสารเหล่านั้น ซึ่งช่วยลดการเกิดอาการภูมิแพ้ได้ แพทย์สามารถช่วยคุณแม่ระบุตัวกระตุ้นเหล่านี้ได้โดยการทดสอบโรคภูมิแพ้ด้วยวิธีต่าง ๆ

 

นอกจากนี้ คุณแม่ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ในวัยเด็กได้อีก ตัวอย่างเช่น หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีควันบุหรี่ หรือควันจากการเผาไหม้ต่าง ๆ หรือการเลือกโปรตีนชนิดที่ผ่านการย่อยมาแล้วบางส่วน ซึ่งช่วยลดสารก่อภูมิแพ้ อีกทั้งร่างกายของลูกน้อยจะสามารถย่อยได้ง่ายกว่าโปรตีนนมวัวทั่วไป เหมาะสำหรับระบบย่อยอาหารที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่อีกด้วย การป้องกันการเกิดภูมิแพ้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกน้อยเติบโตได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะน้ำนมแม่ ที่มีโปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins ) ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย อีกทั้งยังมีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด มีคุณสมบัติเป็น Hypo-Allergenic หรือ H.A. ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ได้ รวมถึงมีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่ง 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5 HMO เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL) มีช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในเด็กเล็ก และในน้ำนมแม่ยังมีโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น B.lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ได้อีกด้วย

 

ดังนั้นคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตุอาการแพ้หรืออาการภูมิแพ้ในเด็กของลูกน้อย เพื่อให้รู้ทันและสามารถที่จะป้องกันการเกิดภูมิแพ้ในอนาคตได้ อีกสิ่งที่คุณแม่ทำให้ คือการลดการก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ คุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเลือกโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนที่เหมาะสำหรับเด็ก* เพราะโปรตีนแต่ละชนิดมีคุณภาพแตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่า โปรตีนที่ถูกย่อยจนมีขนาดเล็กลงสามารถถูกย่อยได้ง่ายจึงสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดี และยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ได้อีกด้วย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

บทความแนะนำ

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ดูแลและป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิด สำคัญแค่ไหน ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง

วัคซีนเด็กแรกเกิดสำคัญกับลูกน้อยแค่ไหน ทำไมควรฉีดวัคซีนเด็กแรกเกิด เพื่อสร้างเกราะป้องกันและเสริมภูมิต้านทานโรคให้ลูก คุณแม่ควรเตรียมตัวให้ลูกน้อยอย่างไร ไปดูกัน

ลูกตัวร้อน ทำอย่างไรดี พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อน ทำอย่างไรดี พร้อมวิธีสังเกตอาการลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ

ลูกตัวร้อน ลูกมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไร คุณแม่ดูแลลูกน้อยอย่างไรได้บ้าง หากลูกร้องไห้ไม่หยุด อ่อนเพลีย หรือมีอาการอาเจียน ควรรีบพาไปพบแพทย์

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ลูกนอนสะดุ้งและวิธีรับมือ

ทารกนอนสะดุ้ง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปด้วยวิธีรับมือช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย แต่ก็ควรหมั่นสังเกตว่าลูกนอนสะดุ้งถี่มากเกินไปหรือเปล่า

วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนม บีบนมอย่างไรให้ถูกวิธี ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่

วิธีบีบน้ำนม สำหรับคุณแม่มือใหม่ บีบนมด้วยมือแบบไหนช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ได้ และช่วยลดการคัดเต้านมได้ดี ช่วยให้คุณแม่สามารถสต๊อกนมให้ลูกได้อย่างปลอดภัย

ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที

ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด ลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักที

ลูกมีน้ำมูกไหลเป็นน้ำใส ๆ ไม่หยุด อาการที่บอกว่าลูกกำลังไม่สบาย อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เป็นหวัด หรือเป็นภูมิแพ้ ไปดูวิธีดูแลลูกเป็นหวัดน้ำมูกไหลไม่หายสักทีกัน

ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

ลูกไม่ยอมดูดขวดนม ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

ลูกไม่ยอมดูดขวด ลูกติดเต้าไม่ดูดขวด ฝึกให้ลูกดูดนมแม่จากขวด วิธีให้ลูกดูดขวด ต้องเตรียมตัวอย่างไร เช็กตารางปั๊มนม เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก