MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: อาหารมื้อแรกของลูกตามช่วงวัย ข้าวมื้อแรกของลูก ควรเริ่มกินเมื่อไหร่

Add this post to favorites

อาหารมื้อแรกของลูกตามช่วงวัย ข้าวมื้อแรกของลูก ควรเริ่มกินเมื่อไหร่

อาหารมื้อแรกของลูก เป็นมื้อสำคัญสำหรับทารก เพราะเจ้าตัวน้อยไม่เคยกินอย่างอื่นเลยนอกจากนม การเลือกเมนูมื้อแรกของลูกจึงสำคัญ ต้องเลือกที่เหมาะกับวัย สามารถกินและย่อยได้ง่าย เสริมสารอาหารนอกเหนือจากนมแม่ ที่ยังต้องได้รับอย่างต่อเนื่อง เพราะนมแม่มีสารอาหารสำคัญกว่า 200 ชนิด โรวมถึงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์ เช่น LPR โพรไบโอติก จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์และเหมาะกับช่วงวัย ควบคู่กับการให้นมแม่ จะช่วยให้ทารกแข็งแรง เสริมภูมิคุ้มกัน มีพัฒนาการที่เหมาะสม และเติบโตอย่างมีคุณภาพ ข้าวมื้อแรกของลูก จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับลูกและเป็นความทรงจำที่สำคัญสำหรับคนเป็นแม่

2นาที อ่าน

รู้ได้อย่างไรว่าลูกพร้อมสำหรับอาหารมื้อแรกของลูก

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มมื้อแรกของลูก คือ เมื่อลูกมีอายุครบ 6 เดือน สาเหตุเพราะ

  1. ทารกวัย 6 เดือนสามารถควบคุมการทรงตัวและศีรษะได้ดี
  2. มีความพร้อมสำหรับกลืนอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวได้
  3. ระบบทางเดินทางอาหาร ไต พัฒนามากขึ้น
  4. ระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้พัฒนาจนสามารถทำหน้าที่ พร้อมสำหรับอาหารมื้อแรกของลูก

อาหารมื้อแรกของลูกที่ดีที่สุดคืออะไร

อาหารมื้อแรกของลูก ควรเริ่มเพียง ทีละอย่าง ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะก่อน กินวันละหนึ่งมื้อ และให้นมแม่จนอิ่ม โดยเริ่มอาหารบดละเอียด โดยใช้วิธีปั่นละเอียด หรือครูดผ่านกระชอนก็ได้ ในวันแรกควรมีน้ำซุปไว้ข้าง ๆ เผื่อลูกฝืดคอ เช่น ข้าวต้มสุกบดละเอียดกับไข่แดงสุกครึ่งฟอง และตำลึงต้มเปื่อยบดละเอียด

อาหารมื้อแรกของลูก ข้าวมื้อแรก ของเจ้าตัวน้อยฝึกกิน เลือกอาหารอะไรดี

ตัวอย่างรายการอาหารมื้อแรกของลูก

มื้ออาหารเช้า

  • ข้าวต้มสุกบดละเอียด 2 ช้อนกินข้าว
  • ปลาสุกบดละเอียด 1 ช้อนกินข้าว
  • ฟักทองต้มเปื่อยบดละเอียดครึ่งช้อนกินข้าว
  • น้ำมันพืชครึ่งช้อนชาคลุกเคล้ากับอาหาร

มื้อว่างช่วงบ่าย

  • มะละกอสุก 1 ชิ้น บดละเอียด

อาหารตามวัย (Solid food) วัยไหนต้องกินอะไร

อาหารแต่ละช่วงวัยจะแตกต่างกัน โดยเฉพาะลักษณะอาหาร เนื้อสัมผัส ที่ค่อย ๆ หยาบขึ้น เมื่อทารกเติบโตขึ้นแล้ว และยังต้องคำนึงถึงสารอาหารที่มีประโยชน์ในแต่ละช่วงวัย ให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายและพัฒนาการของลูกน้อย

อาหารเด็กทารกแต่ละวัย

อาหารของทารกเมื่ออายุเกิน 6 เดือนขึ้นไป น้ำนมแม่อย่างเดียวจะไม่เพียงพอแล้ว การเลือกอาหารที่เหมาะสมทั้งชนิดของอาหารและปริมาณ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้เจ้าตัวน้อยมีพัฒนาการที่สมวัย สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง โดยสารอาหารสำคัญสำหรับเด็ก เช่น

  • พลังงานและโปรตีน ในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ควรให้กินนมแม่เพียงอย่างเดียว เพราะนมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด ที่เพียงพอเหมาะสมสำหรับช่วงวัยนี้
  • ธาตุเหล็ก ได้แก่ ตับ ไข่แดง เนื้อสัตว์
  • ไอโอดีน โดยเลือกใช้เกลือไอโอดีนในการปรุงอาหาร จะช่วยเรื่องการทำงานของต่อมไทรอยด์ ดีต่อการพัฒนาของสมอง และการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยทารกอายุ 6-11 เดือน ควรได้รับไอโอดีน ราว 70 ไมโครกรัม และไม่ควรได้รับมากเกินไป
  • แคลเซียม ซึ่งจำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน พบได้ในนม
  • สังกะสี ช่วยการเจริญเติบโต สร้างภูมิคุ้มกันโรค และพัฒนาการด้านอื่นๆ พบมากในเนื้อสัตว์ และอาหารทะเลบางชนิด
  • วิตามินเอในปริมาณที่เหมาะสม เสริมสร้างเซลล์และระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยเรื่องการมองเห็น พบในตับและไข่แดง ผักใบเขียวเข้ม และผักผลไม้สีเหลืองแสด

อาหารเด็ก 6 เดือน

อาหารเด็ก 6 เดือน ควรให้กินอาหารวันละ 1 มื้อ เป็นอาหารที่บดละเอียดหรืออาจใช้วิธีปั่นละเอียด สำหรับวันแรกของการเริ่มอาหาร ป้อนเพียง 1 ช้อนโต๊ะ เพื่อระวังการแพ้อาหาร แล้วตามด้วยนมแม่จนอิ่ม

เมนูอาหาร

  • ข้าวต้มสุก 2 ช้อนกินข้าว
  • ไข่แดงสุก ½ ฟอง สลับกับตับสุกหรือเนื้อสัตว์สุก 1 ช้อนกินข้าวต่อมื้อ
  • ผักต้มสุกจนเปื่อย ½ ช้อนกินข้าว
  • เติมน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

อาหารเด็ก 7 เดือน

อาหารเด็ก 7 เดือน ควรเป็นอาหารบดหยาบมากขึ้น ลักษณะเนื้อสัมผัสที่หยาบขึ้นจะช่วยให้ลูกเริ่มฝึกการเคี้ยว และควรเพิ่มจำนวนมื้อมากขึ้นเป็น 1-2 มื้อ โดยเลือกโปรตีนเพิ่มขึ้น เพื่อเสริมโภชนาการทารกตามวัย ได้รับพลังงานอย่างเหมาะสม

เมนูอาหาร

  • ข้าวต้มสุกบดหยาบ 3 ช้อนกินข้าว
  • ปลาสุกบดหยาบ 1 ช้อนกินข้าว
  • แครอทต้มเปื่อยบดหยาบ 1 ช้อนกินข้าว
  • เติมน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

อาหารมื้อแรกของลูก คำแรกของเจ้าตัวน้อย เริ่มเมื่อไหร่ อาหารแบบไหนเหมาะกับวัย

อาหารเด็ก 8 เดือน

อาหารเด็ก 8 เดือน ในช่วงที่ทารกฟันน้ำนมขึ้น ลักษณะอาหารและเมนูอาหาร ต้องปรับเปลี่ยนใหม่ให้มีความหยาบเพิ่มมากขึ้น อาหารควรเหมาะกับการฝึกเคี้ยว ที่จะช่วยลดอาการคันเหงือก ให้ลูกได้ฝึกเคี้ยว และควรมีความแข็งปานกลาง และให้กินอาหารวันละ 2 มื้อ

เมนูอาหาร

  • ข้าวสวยหุงนิ่ม บดหยาบ 4 ช้อนกินข้าว
  • ตับสุกสับละเอียด 1 ช้อนกินข้าว
  • ผักกวางตุ้งสุกสับละเอียด 1 ช้อนกินข้าว
  • เติมน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

อาหารเด็ก 9 เดือน

อาหารเด็ก 9 เดือน สามารถเพิ่มเป็น3 มื้อต่อวัน โดยให้กินนมแม่ควบคู่ไปด้วยเช่นเดิม แต่เพิ่มปริมาณของอาหารให้มากยิ่งขึ้น ลักษณะของอาหารควรอ่อนนุ่ม เพื่อช่วยบริหารเหงือกและฟัน ช่วงวัยนี้ทารกจะมีพัฒนาการมากขึ้น เริ่มอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ควรได้รับสารอาหารและพลังงานที่มากขึ้น

เมนูอาหาร

  • ข้าวสวยหุงนิ่ม ๆ บดหยาบ 4 ช้อนกินข้าว
  • ตับสุกหั่นชิ้นเล็ก 1 ช้อนกินข้าว
  • ผักกาดเขียวสุกหั่นชิ้นเล็ก 1 ช้อนครึ่งกินข้าว
  • เติมน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

อาหารเด็ก 10 ดือน

อาหารเด็ก 10 เดือน เด็กในช่วงวัยนี้สามารถทานอาหารได้หลากหลายมากขึ้นแล้ว แนะนำให้เลือกวัตถุดิบสดใหม่ มีคุณภาพ ปรุงสุก สะอาด และเน้นความหลากหลาย ครบ 5 หมู่ ควรเริ่มให้อาหารทีละน้อย ค่อยๆ เพิ่มปริมาณ และควรฝึกให้ลูกกินอาหารด้วยตัวเอง

เมนูอาหาร

  • ข้าวหอมมะลิ 1/2 ถ้วย
  • น้ำซุปไก่ 2 ถ้วย
  • อกไก่ 1 ชิ้น
  • ฟักทอง 1 ถ้วย
  • ปรุงรสด้วยเกลือเกลือ 1/2 ช้อนชา
  • ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา
  • พริกไทยป่น 1 หยิบมือ
  • โรยหน้าด้วยต้นหอมซอย

อาหารเด็ก 11 เดือน

อาหารเด็ก 11 เดือน วัยกำลังซน สนุกกับการวิ่งเล่น ปีนป่าย พร้อมวิ่งเล่นเพื่อเรียนรู้โลกกว้าง ทั้งร่างกายและสมอง ก็พัฒนาได้เร็ว อาหารที่เลือกจึงควรให้สารอาหาร รวมถึงให้พลังงานมากเป็นพิเศษ อาหารเด็ก 11 เดือนควรกินอาหาร 3 มื้อควบคู่กับนมแม่ ให้ทารกฉลาด แข็งแรง และเติบโตตามวัย

เมนูอาหาร

  • ข้าวสวย 4 ช้อนกินข้าว
  • น้ำแกงจืด 10 ช้อนกินข้าว
  • เนื้อปลาทะเลที่ไม่มีก้าง 1 1/2 ช้อนกินข้าว
  • แครอท 2 ช้อนกินข้าว
  • เติมน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

อาหารเด็ก 12 เดือน

อาหารเด็ก 12 เดือน ช่วงวัยที่เคี้ยวกลืนอาหารได้ดีขึ้น ลูกได้เรียนรู้รสชาติอาหารใหม่ ๆ จึงสนุกกับการกินอาหารมากขึ้น อาหารของลูกทั้ง 3 มื้อ จึงควรมีสารอาหารที่หลากหลาย มีเนื้อสัมผัสที่หยาบ อาจเพิ่มส่วนผสมของธัญพืชและผักรวม ที่ช่วยเสริมโภชนาการให้ลูกน้อยอย่างเต็มที่ ควรทำอาหารขนาดพอดีคำ ให้ลูกสนุกกับการหยิบจับ นำเข้าปากด้วยตัวเอง

เมนูอาหาร

  • ข้าวสวยหุงนิ่ม ๆ บดหยาบ 4 ช้อนกินข้าว
  • เนื้ออกไก่ 1 ช้อนกินข้าว
  • บรอกโครี 1 ช้อนกินข้าวครึ่ง
  • เติมน้ำมันพืชครึ่งช้อนชา

อาหารเด็ก 1 ขวบขึ้นไป

อาหารเด็ก 1 ขวบขึ้นไป ควรได้รับอาหารมื้อหลักวันละ 3 มื้อ นมรสจืดวันละ 2-3 มื้อ ถ้ายังให้นมแม่ สามารถให้ได้ถึงอายุ 2 ปี แต่ควรฝึกให้เด็กดื่มนมจากถ้วยแทน เพื่อป้องกันฟันผุ สำหรับสารอาหารที่ได้รับในแต่ละมื้อ ต้องครบถ้วน โดยดัดแปลงจากอาหารของผู้ใหญ่ให้อ่อนนุ่ม แต่ยังไม่ควรเติมรสชาติเข้าไป

เมนูอาหาร

  • ข้าวสวย 6 ช้อนกินข้าว
  • ผัดน้ำมันพืช 1 ช้อนชา
  • แกงจืดหรือต้มจืดใส่ไก่ 3 ช้อนกินข้าว
  • ใส่ผักใบเขียวหรือเหลืองส้มที่อ่อนนุ่ม 3-4 ช้อนกินข้าว

สิ่งที่คุณแม่ต้องหลีกเลี่ยงสำหรับอาหารมื้อแรก ๆ ของลูก

  • ไม่ควรมีเนื้อสัมผัสที่บดหยาบ อาหารควรบดละเอียดเท่านั้น
  • ไม่ควรป้อนคำใหญ่เกินไป ควรเริ่มด้วยคำเล็ก ๆ ก่อน
  • ไม่ควรป้อนเกิน 1 ช้อนโต๊ะ วันที่ 1 ป้อนแค่ 1 ช้อนโต๊ะก็เพียงพอ หากลูกไม่มีอาการท้องอืดค่อยเพิ่มอีกวันละ 1 ช้อนโต๊ะ
  • ไม่ควรเร่งให้ลูกกินเยอะ ๆ เมื่อลูกไม่ไหวให้จบมื้ออาหารเพียงเท่านั้น

อาหารมื้อแรกของลูก นอกจากนมแม่แล้ว เริ่มกินได้ตอนไหน

ทารกอายุ 6 เดือน ให้กินอาหารวันละ 1 มื้อ อาหารมื้อแรก คือ มื้อเช้า ส่วนผลไม้สดให้บดละเอียด ให้ทารกกินเป็นอาหารว่างบ่าย

คำแนะนำก่อนเริ่มให้อาหารมื้อแรกกับเด็กเล็ก

  • ไม่ควรเร่งรัด ควรเผื่อเวลาในมื้อที่มีอาหารชนิดใหม่ ๆ ให้ลูกได้ลองเรียนรู้
  • อาหารควรมีความหลากหลายอยู่เสมอ ให้ลูกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และให้เด็กได้สนุกกับสิ่งใหม่ ๆ
  • ปล่อยให้ลูกได้จับ สัมผัสอาหารด้วยตัวเอง
  • ระหว่างการป้อนอาหาร ควรสบตากับทารก
  • ทำเป็นตัวอย่างให้ดู ให้ลูกเรียนรู้การกินอาหาร

บทความแนะนำอาหารเสริมตามวัยสำหรับลูกน้อย