อาหารเด็ก 6 เดือน ลูกกินได้แค่ไหน พร้อมตารางอาหารทารก 6 เดือน
อาหารเด็ก 6 เดือนควรเป็นแบบไหน ทำไมแม่ต้องรู้
เมื่อทารกอายุครบ 6 เดือน นมแม่เพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะทารกจำเป็นต้องได้รับสารอาหารเพิ่มเพื่อพัฒนาการเด็ก 6 เดือน ให้ลูกน้อยเจริญเติบโต และมีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย ลักษณะของอาหารเด็กวัย 6 เดือน ที่เหมาะสม ควรจะเป็นอาหารที่ปรุงสุก มีความนิ่ม บดละเอียด หรือนำไปปั่นอย่างละเอียด เพื่อให้ลูกกลืนได้ง่าย
การให้อาหารเด็ก 6 เดือนขึ้นไปแต่ละอย่าง รวมถึงปริมาณอาหารทารก 6 เดือน ควรทำอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มให้อาหารทีละอย่าง ครั้งละ 1-2 ช้อนชา และเว้นระยะ 2-3 วัน ก่อน เริ่มให้อาหารชนิดใหม่ เพื่อดูการยอมรับอาหารและการแพ้อาหาร หากอาหารที่แม่ทำ ลักษณะค่อนข้างหนืดหรือข้นเกินไป สามารถเติมน้ำซุปจากการต้มธรรมชาติ โดยไม่ผ่านการปรุงรส นำมาคนให้ข้นพอดี หากเหลวเกินไปลูกอาจจะกินไม่หมด
ลูกอายุ 6 เดือน กินกี่มื้อถึงดีที่สุด
ในวันแรกของการป้อนอาหารตามวัยให้ลูกน้อยอาหารมื้อแรกของลูก หรือเมนูอาหารเด็ก 6 เดือน คุณแม่ควรเริ่มเพียง 1 ช้อนโต๊ะก่อน จากนั้นให้ทารกกินนมแม่ตามเดิมจนอิ่ม และควรสังเกตอาการของทารก ถ้าลูกไม่อยากกินแล้ว ไม่ควรไปเร่ง แล้วค่อยเพิ่มปริมาณอีก 1 ช้อนโต๊ะในวันถัดไป หรือถ้าลูกมีอาการท้องอืดให้หยุดก่อน แต่หากได้รับอาหารเสริมตามวัยแล้วท้องไม่อืดค่อยๆเพิ่ม ตามที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำ ได้แก่
- วันแรก ป้อนอาหารทารกเพียง 1 ช้อนโต๊ะ
- วันที่ 2 ป้อน 2 ช้อนโต๊ะ
- วันที่ 3 ป้อน 3 ช้อนโต๊ะ
- วันที่ 4 ป้อน 4 ช้อนโต๊ะ
- ในวันที่ 5 คุณแม่สามารถป้อนได้ 5 ช้อนโต๊ะ เพราะทารกในวัย 6 เดือน ควรได้รับอาหารเด็กปั่นละเอียดเฉลี่ยมื้อละ 5 ช้อนโต๊ะ เพียงวันละ 1 มื้อเท่านั้น
ป้อนข้าวลูก 6 เดือน เวลาไหนดี
อาหารตามวัยของทารก 6 เดือน ควรได้รับ 1 มื้อ โดยการเริ่มป้อนอาหารทารก ควรให้เป็นมื้อเช้า และเสริมด้วยผลไม้สุกบดละเอียดวันละ 1 ชิ้น คุณแม่สามารถป้อนอาหารตามวัยให้ตามตารางอาหารทารก 6 เดือนด้านล่าง
ตารางอาหารทารก 6 เดือน
เมนูเด็ก 6 เดือน มื้อเช้า | เมนูเด็ก 6 เดือนมื้อว่างช่วงบ่าย |
|
|
|
|
|
|
สำหรับเมนูปลาให้เลือกปลาหลากหลายชนิด เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่หลากหลาย ส่วนปลาทะเลอาจเริ่มให้ได้ แต่ต้องสังเกตลูกด้วยว่ามีอาการแพ้หรือไม่
เมนูอาหารเด็ก 6 เดือน เสริมโภชนาการลูกน้อย
เมนูที่ 1: ข้าวบด ไข่แดง ตำลึง
วัตถุดิบ
- ข้าวต้มสุก 2 ช้อนกินข้าว
- ไข่แดงต้ม ½ ฟอง
- ตำลึงต้มเปื่อย ½ ช้อนกินข้าว
- น้ำซุป 5 ช้อนกินข้าว
- น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
วิธีทำ
- ใช้ข้าวต้มสุกมาบดละเอียด ใส่ไข่แดงต้มบดละเอียด
- นำตำลึงต้มเปื่อยบดละเอียด ผสมรวมกัน และคลุกเคล้าด้วยน้ำซุปและน้ำมันพืช
เมนูที่ 2: ข้าวบดตับไก่ผักหวาน
วัตถุดิบ
- ข้าวต้มสุก 2 ช้อนกินข้าว
- ตับไก่ต้ม 1 ช้อนกินข้าว
- ผักหวานบ้านต้ม ½ ช้อนกินข้าว
- น้ำซุป 5 ช้อนกินข้าว
- น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
วิธีทำ
- ใช้ข้าวต้มสุกมาบดละเอียด ใส่ตับไก่ต้มบดละเอียด
- นำผักหวานบ้านต้มเปื่อยบดละเอียด ผสมรวมกัน และคลุกเคล้าด้วยน้ำซุปและน้ำมันพืช
เมนูที่ 3: ข้าวบดปลาทูฟักทอง
วัตถุดิบ
- ข้าวต้มสุก 2 ช้อนกินข้าว
- ปลาทูต้ม 1 ช้อนกินข้าว
- ฟักทองต้ม ½ ช้อนกินข้าว
- น้ำซุป 5 ช้อนกินข้าว
- น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
วิธีทำ
- ใช้ข้าวต้มสุกมาบดละเอียด ใส่ปลาทูต้มบดละเอียด
- นำฟักทองต้มเปื่อยบดละเอียด ผสมรวมกัน และคลุกเคล้าด้วยน้ำซุปและน้ำมันพืช
เมนูที่ 4: ข้าวบดปลาช่อนแครอท
วัตถุดิบ
- ข้าวต้มสุก 2 ช้อนกินข้าว
- ปลาช่อนต้ม 1 ช้อนกินข้าว
- แครอทต้ม ½ ช้อนกินข้าว
- น้ำซุป 5 ช้อนกินข้าว
- น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
วิธีทำ
- ใช้ข้าวต้มสุกมาบดละเอียด ใส่ปลาช่อนต้มบดละเอียด
- นำแครอทต้มเปื่อยบดละเอียด ผสมรวมกัน และคลุกเคล้าด้วยน้ำซุปและน้ำมันพืช
เมนูที่ 5: ข้าวบดตับไก่ผักกาดขาว
วัตถุดิบ
- ข้าวต้มสุก 2 ช้อนกินข้าว
- ตับไก่ต้ม 1 ช้อนกินข้าว
- ผักกาดขาวปลีต้ม ½ ช้อนกินข้าว
- น้ำซุป 5 ช้อนกินข้าว
- น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
วิธีทำ
- ใช้ข้าวต้มสุกมาบดละเอียด ใส่ตับไก่ต้มบดละเอียด
- นำผักกาดขาวปลีต้มเปื่อยบดละเอียด ผสมรวมกัน และคลุกเคล้าด้วยน้ำซุปและน้ำมันพืช
เมนูที่ 6: ข้าวบดไข่แดงฟักทอง
วัตถุดิบ
- ข้าวต้มสุก 2 ช้อนกินข้าว
- ไข่แดงต้ม ½ ช้อนกินข้าว
- ฟักทองต้ม ½ ช้อนกินข้าว
- น้ำซุป 5 ช้อนกินข้าว
- น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
วิธีทำ
- ใช้ข้าวต้มสุกมาบดละเอียด ใส่ไข่แดงต้มบดละเอียด
- นำฟักทองต้มเปื่อยบดละเอียด ผสมรวมกัน และคลุกเคล้าด้วยน้ำซุปและน้ำมันพืช
เมนูที่ 7: ข้าวบดปลาทูปวยเล้ง
วัตถุดิบ
- ข้าวต้มสุก 2 ช้อนกินข้าว
- ปลาทูต้ม 1 ช้อนกินข้าว
- ปวยเล้งต้ม ½ ช้อนกินข้าว
- น้ำซุป 5 ช้อนกินข้าว
- น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
วิธีทำ
- ใช้ข้าวต้มสุกมาบดละเอียด ใส่ปลาทูต้มบดละเอียด
- ปวยเล้งต้มเปื่อยบดละเอียด ผสมรวมกัน และคลุกเคล้าด้วยน้ำซุปและน้ำมันพืช
เมนูที่ 8: ข้าวบดปลาแซลมอนบรอกโคลี
วัตถุดิบ
- ข้าวต้มสุก 2 ช้อนกินข้าว
- ปลาแซลมอนต้ม ½ ช้อนกินข้าว
- ไข่แดงต้ม ½ ช้อนกินข้าว
- บรอกโคลี ½ ช้อนกินข้าว
- น้ำซุป 5 ช้อนกินข้าว
- น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
วิธีทำ
- ใช้ข้าวต้มสุกมาบดละเอียด ใส่ปลาแซลมอนและไข่แดงต้มบดละเอียด
- นำบรอกโคลีต้มเปื่อยบดละเอียด ผสมรวมกัน และคลุกเคล้าด้วยน้ำซุปและน้ำมันพืช
เมนูที่ 9: ข้าวโอ๊ตบดไก่สับ
วัตถุดิบ
- ข้าวโอ๊ตต้มสุก 2 ช้อนกินข้าว
- ไก่ต้ม 1 ช้อนกินข้าว
- แครอท ½ ช้อนกินข้าว
- น้ำซุป 5 ช้อนกินข้าว
- น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
วิธีทำ
- ใช้ข้าวโอ๊ตต้มสุกจนพองแล้วนำมาบดละเอียด ใส่ไก่ต้มบดละเอียด
- นำแครอทต้มเปื่อยบดละเอียด ผสมรวมกัน และคลุกเคล้าด้วยน้ำซุปและน้ำมันพืช
เมนูที่ 10: ข้าวบดมันม่วงตับไก่
วัตถุดิบ
- ข้าวต้มสุก 2 ช้อนกินข้าว
- ตับไก่ต้ม 1 ช้อนกินข้าว
- มันม่วง ½ ช้อนกินข้าว
- น้ำซุป 5 ช้อนกินข้าว
- น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
วิธีทำ
- ใช้ข้าวต้มสุกมาบดละเอียด ใส่ตับไก่ต้มบดละเอียด
- นำมันม่วงต้มเปื่อยบดละเอียด ผสมรวมกัน และคลุกเคล้าด้วยน้ำซุปและน้ำมันพืช
เมนูที่ 11: ข้าวบดกล้วยน้ำว้า
วัตถุดิบ
- ข้าวต้มสุก 2 ช้อนกินข้าว
- กล้วยน้ำว้าครูดเฉพาะเนื้อ 1 ลูก
- ผักตำลึงต้ม ½ ช้อนกินข้าว
- นมที่ลูกดื่ม 2 ช้อนกินข้าว
วิธีทำ
- ใช้ข้าวต้มสุกมาบดละเอียด ใส่กล้วยน้ำหว้าครูดบดละเอียด
- นำผักตำลึงต้มเปื่อยบดละเอียด ผสมรวมกัน และคลุกเคล้าด้วยนม
เมนูที่ 12: ข้าวบดสามสหาย
วัตถุดิบ
- ข้าวต้มสุก 1 ½ ช้อนกินข้าว
- ไข่แดงต้ม ½ ช้อนกินข้าว
- บรอกโคลี ½ ช้อนกินข้าว
- แครอท ½ ช้อนกินข้าว
- ฟักทอง ½ ช้อนกินข้าว
- น้ำซุป 5 ช้อนกินข้าว
- น้ำมันพืช ½ ช้อนชา
วิธีทำ
- ใช้ข้าวต้มสุกมาบดละเอียด ใส่ไข่แดงต้มบดละเอียด
- นำผักบรอกโคลี แครอท ฟักทองต้มเปื่อยบดละเอียด ผสมรวมกัน และคลุกเคล้าด้วยน้ำซุปและน้ำมันพืช
เมนูอาหารเด็ก 6 เดือน คุณแม่ควรคำนึงถึงความหลากหลายของอาหาร โดยจัดตารางอาหารทารก 6 เดือน และปริมาณอาหารทารก 6 เดือน ให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยปรุงสุก บดให้ละเอียด และควรเสริมการเจริญโตเติบด้วยอาหารเสริมธาตุเหล็กทารก ซึ่งเป็นหนึ่งในสารอาหารที่มีผลต่อระดับเชาว์ปัญญา และป้องการภาวะการขาดธาตุเหล็กในทารก การรับประทานอาหารจำพวก ปลา ตับ ไข่ จะช่วยให้ทารกมีการเจริญเติบโตที่ดี ส่วนการกินผัก ผลไม้ ทำให้ผิวพรรณผ่องใส ขับถ่ายดี
แต่สำคัญที่สุด คือ เพราะนมแม่เป็นอาหารสำหรับทารกที่ดีที่สุด มีสารอาหารหลากหลายกว่า 200 ชนิด รวมถึงมีจุลินทรีย์ดีที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์ เช่น LPR โพรไบโอติก พร้อมทุกพัฒนาการ
*** หมายเหตุ - ควรปรึกษาแพทย์หากคุณและครอบครัวมีประวัติโรคภูมิแพ้ การแพ้อาหาร หรือสงสัยว่าลูกน้อยมีปัญหาเรื่องการกิน รวมถึงมีความผิดปกติอื่น ๆ ***
บทความแนะนำอาหารเสริมตามวัยสำหรับลูกน้อย
- อาหารเด็ก 7 เดือน เมนูอาหารเด็ก 7 เดือน เมนูไหนเหมาะกับลูกน้อย
- อาหารเด็ก 8 เดือน ตารางอาหารทารก 8 เดือน ลูกเริ่มกินอะไรได้บ้าง
- อาหารเด็ก 9 เดือน ไอเดียเมนูอาหารเด็ก 9 เดือน เสริมโภชนาการลูกน้อย
- อาหารเด็ก 10 เดือน เมนูอาหารเด็ก 10 เดือน เสริมพัฒนาการลูกน้อย
- อาหารเด็ก 11 เดือน เมนูอาหารเด็ก 11 เดือน บำรุงสมองลูกน้อย
- รวมเมนูอาหารเด็ก 1 ขวบ สำหรับลูกน้อย คุณแม่ทำตามง่ายและถูกหลักโภชนาการ
- รวมเมนูอาหารเด็กทารก 6-12 เดือน คุณแม่ทำตามง่าย เหมาะสำหรับลูกน้อย
- อาหารมื้อแรกของลูก ข้าวมื้อแรกของลูกตามช่วงวัย เริ่มกินเมื่อไหร่ดี