MyFeed Personalized Content
บทความ

PLAYING: สัญญาณบ่งบอกอาการอิ่มนมของลูกน้อย

Add this post to favorites

สัญญาณบ่งบอกอาการอิ่มนมของลูกน้อย

ทารกบอกไม่ได้ มาดูวิธีสังเกตอาการทารกหิวที่คุณแม่คุณพ่อมือใหม่ต้องรู้ พร้อมวิธีสังเกตว่าลูกกินอิ่มแล้วหรือยัง เพราะสัญญาณที่ลูกบอกมีความหมายต่อการเติบโต

1นาที อ่าน

ในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า น้ำนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเด็กทารก เนื่องจากอุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันและสารอาหารสำคัญอีกมากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การเลี้ยงทารกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวควรทำในช่วง 6 เดือนแรกเท่านั้น และหลังจากนั้น ควรให้อาหารตามวัยควบคู่กับน้ำนมแม่ไป จนกระทั่งลูกน้อยมีอายุ 2 ขวบขึ้นไป ข้อดีจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีดังต่อไปนี้:
• นมเหลือง หรือน้ำนมแรกที่ผลิตออกมาในช่วง 3 วันแรกหลังคลอด อุดมไปด้วยสารอาหารและภูมิคุ้มกันชั้นเลิศ
• สร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น
• เป็นอาหารที่เหมาะกับเด็กทารก เพราะมีคุณค่า ปราศจากเชื้อโรค และดื่มได้ตลอดเวลา ย่อยง่าย เหมาะกับระบบย่อยที่กำลังพัฒนา

 

สัญญาณบ่งบอกอาการอิ่มของลูกน้อย

 

คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่มักจะวิตกกังวลว่า “หนูกินอิ่มหรือยังนะ” สัญญาณต่อไปนี้จะบอกให้คุณทราบได้ว่าลูกน้อยดื่มนมแม่เพียงพอแล้วหรือยัง
• หน้าอกคัดตึงและปริมาณน้ำนม เมื่อร่างกายของคุณเริ่มผลิตน้ำนมออกมา (ในวันที่ 3 หรือ 4 หลังการคลอด) คุณจะรู้สึกคัดหน้าอก ซึ่งหลังจากให้นมเสร็จเรียบร้อย เต้านมของคุณควรจะอ่อนนุ่มลง อาการคัดหน้าอกควรจะหายไป หากยังมีอาการดังกล่าวอยู่ ให้สังเกตว่า ขณะให้นมนั้น ลูกน้อยของคุณกลืนน้ำนมลงไปหรือไม่
• ผ้าอ้อมเปียก หลังจากสัปดาห์แรก ทารกน้อยจะใช้ผ้าอ้อมเปียกจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และในช่วงนี้เอง ลูกน้อยจะถ่ายอุจจาระสีเหลืองออกมาวันละ 2 – 3 ครั้ง และปัสสาวะอย่างน้อย 6 ครั้งต่อวัน
• ความถี่ในการให้นม ให้นมลูกน้อยได้บ่อยตามต้องการ ในสัปดาห์แรก ๆ ทารกโดยมากจะส่งสัญญาณหิว 8 – 12 ครั้งต่อวัน
• น้ำหนักขึ้น น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าลูกน้อยของคุณได้รับน้ำนมในปริมาณที่เพียงพอ ในช่วงสัปดาห์แรกนั้น ลูกน้อยจะมีน้ำหนักลดลง และจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 2 ซึ่งคุณควรสังเกตน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเป็นระยะ ๆ
• สุขภาพโดยรวม เด็กทารกที่ตื่นตัว อารมณ์ดี อาจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะโภชนาการที่เหมาะสม การพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณติดตามการเพิ่มน้ำหนักที่เหมาะสมของลูกได้ หากคุณต้องการคำแนะนำ ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวลูกน้อย หรือพยาบาล หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมบุตร
• วิตามินดี เด็กทารกต้องการวิตามินดีเพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟัน ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เด็กทารกที่กินนมแม่ควรได้รับอาหารเสริมวิตามินดีสำหรับเด็ก เพื่อป้องกันภาวะขาดวิตามินดี คุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ เกี่ยวกับระดับสารอาหารที่จำเป็นต่อลูกน้อย

สำหรับเด็กวัยนั่งได้ ช่วงประมาณ 6-7เดือน (450-510 วัน) นอกจากต้องการอาหารหลักอย่าง “นมแม่” แล้ว คุณแม่อาจต้องเพิ่มเมนูอาหารเด็ก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของลูก โดยในแต่ละมื้อนั้น ต้องมีคุณค่าทางโภชนาการที่เพียงพอเหมาะกับทารก เช่น ข้าวบด ผักต้มบดละเอียด กล้วยน้ำว้าสุก ไข่แดงสุก หรือตับบด เป็นต้น ในช่วงเวลานี้เด็กวัยนั่งได้ จะตื่นเต้นที่จะได้เห็นอาหารใหม่ๆ จะทำให้การทานอาหารแต่ละมื้อมีความสนุก และเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับทั้งคุณและลูกรัก

 

สังเกตอาการเมื่อลูกหิว หรือลูกอิ่ม

 

อาการเมื่อลูกหิว

 

ในเด็กวัยนั่งได้ ช่วง 6-7เดือน (450-510 วัน)

 

• ลูกจะยังคงแสดงอาการหงุดหงิด หรือร้องไห้เมื่อหิวนม หรืออยากกินอาหารที่ต้องการ
• เริ่มเอื้อมมือเข้ามาเพื่อจับช้อนที่มีอาหารอยู่ พร้อมอ้าปากกว้าง และเอนตัวเข้าหาจาน หรือช้อน
• หากลูกยังไม่อิ่ม เขาอาจใช้สายตามองมาที่คุณ เพื่อแสดงภาษากายว่า “หนูยังไม่อิ่ม”

 

อาการเมื่อลูกอิ่ม

 

ในเด็กวัยนั่งได้ ช่วง 6-7เดือน (450-510 วัน)

 

ในช่วงวัยนี้ ลูกน้อยจะแสดงอาการให้รู้เมื่อเขาอิ่มอย่างชัดเจน คุณแม่ควรสังเกตลูกให้ดี อย่าฝืนให้ลูกทานอาหารเกินปริมาณที่ลูกต้องการ ควรเชื่อภาษากายของลูก หากเขาแสดงออกว่าอิ่มแล้วจริงๆ
• หากเป็นการดูดนมจากขวดหรือนมแม่ ลูกจะเบือนหน้าหนีออกจากเต้านมหรือขวดนม
• เบนตัวหนีออกจากอาหาร และอาจจะผลักช้อนออกจากตัว
• เม้มปากปิดสนิท และไม่ยอมให้คุณป้อนต่อ
• อาจคายอาหาร ซึ่งปกติชอบกินออกมา
• ผลักจานอาหาร หรืออาหารที่อยู่ตรงหน้า
• เคี้ยวช้าลง เปลี่ยนความสนใจไปที่สิ่งอื่น
• หลับขณะที่กินอาหารอยู่