MyFeed Personalized Content
บทความ

PLAYING: วิธีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พร้อมท่าอุ้มให้นมลูก

Add this post to favorites

วิธีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พร้อมท่าอุ้มให้นมลูก

ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมอธิบายท่าให้อุ้มขณะให้นมลูก เพื่อให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมอย่างเต็มอิ่ม และวิธีสังเกตสุขภาพลูกที่ได้รับน้ำนมแม่เพียงพอ

2นาที อ่าน

การเปลี่ยนแปลงของน้ำนมแม่

 

น้ำนมแม่แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ซึ่งแต่ละระยะจะมีสารอาหารตรงกับความต้องการของลูกในแต่ละช่วงวัย โคลอสตรุ้ม (Colostrum) หรือน้ำนมเหลือง หมายถึงน้ำนมแม่ในช่วงแรก เป็นน้ำนมที่มีประโยชน์มากมาย มากกว่าที่คนส่วนใหญ่รู้ น้ำนมเหลืองเพียงไม่กี่หยดจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างระบบภูมิคุ้มที่แข็งแรงให้กับลูก นมที่ป้อนให้ลูกแต่ละครั้งในช่วง 3-5 วันหลังคลอดจะอุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ ทั้งโปรตีน วิตามิน พรีไบโอติกส์ และกรดไขมันจำเป็น ที่เหมาะสมกับทารกแรกเกิด โคลอสตรุ้มจะมีสีออกเหลืองหรือสีครีม และมีความเข้มข้นกว่า “ระยะน้ำนมปรับเปลี่ยน (Transitional Milk)” โคลอสตรุ้มจะค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นน้ำนมแม่ระยะปรับเปลี่ยนภายในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ น้ำนมนี้จะมีพลังงาน ไขมัน และวิตามินต่างๆ สูงขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการสารอาหารที่เพิ่มขึ้นของลูกน้อย ระยะน้ำนมแม่ (Mature Milk) เป็นน้ำนมระยะสุดท้ายที่คุณแม่จะสร้างขึ้นเพื่อใช้เลี้ยงลูก น้ำนมนี้จะมีน้ำในสัดส่วนที่สูงขึ้น เพื่อให้ลูกได้รับน้ำอย่างเพียงพอ แต่ก็ยังคงมีโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่สมดุล เพียงพอกับการเจริญเติบโตของลูก เต้านมของแม่แต่ละข้างอาจสร้างน้ำนมไม่เท่ากัน และปริมาณของสารอาหารก็จะปรับไปตามความต้องการของลูก

 

น้ำนมแม่ กับเคล็ดลับในการให้นมและท่าอุ้มให้นมลูก

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโปรตีน

 

โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญมาก ลูกต้องการกรดอะมิโน ที่เป็นองค์ประกอบเล็กๆ ในโปรตีน เพื่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและสุขภาพที่ดี ในความเป็นจริงแล้ว โปรตีนเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่พบได้มากในร่างกายลูก โปรตีนยังจำเป็นกับการมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ สมอง และอวัยวะอื่นๆ บุคลากรทางการแพทย์ต่างยอมรับว่าโปรตีนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเจริญเติบโต และการมีพัฒนาการที่ดีของลูกในระยะยาว โชคดีที่น้ำนมแม่ถูกออกแบบมาให้มีส่วนผสมของโปรตีนที่ เหมาะสมกับลูกน้อยของคุณ

 

เคล็ดลับในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

ท่าอุ้มลูกในขณะให้นม

 

แม้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นวิถีตามธรรมชาติในการเลี้ยงดูลูกน้อย แต่ก็เป็นสิ่งที่ทั้งคุณและลูกต้องเรียนรู้ร่วมกัน อาจต้องใช้เวลา ความอดทน และการฝึกฝน โดยการลองอุ้มลูกในท่าต่างๆ เริ่มอย่างช้าๆ และใจเย็นๆ

 

ควรอุ้มลูกอย่างไรในขณะให้นมลูก

 

หลังจากที่คุณลองให้ลูกดูดนมโดยอุ้มลูกด้วยท่าต่างๆ คุณจะพบท่าอุ้มที่ทั้งคุณและลูกรู้สึกสบายที่สุด คุณอาจต้องเปลี่ยนท่าอุ้ม เพื่อช่วยให้ลูกดูดน้ำนมจนอิ่ม โดยดูดนมจากเต้านมแต่ละข้างเท่าๆ กัน คุณอาจลองอุ้มลูกด้วยท่าต่อไปนี้

 

ท่าอุ้มให้นมลูกแบบนอนขวางบนตัก

 

ท่าอุ้มให้นมลูกแบบนอนขวางบนตัก

 

1. นั่งตัวตรง ให้ลูกนอนตะแคงข้างบนตักของคุณ และหันหน้าเข้าหาคุณ
2. ประคองศีรษะ หลังและก้นของลูกด้วยแขนของคุณ ให้หน้าของลูกอยู่ใกล้กับเต้านมของคุณ
3. ใช้หัวนมของคุณสัมผัสกับปากหรือแก้มลูก
4. เมื่อลูกเริ่มดูดนม คุณต้องแน่ใจว่าลูกอมทั้งหัวนมและฐานหัวนมเข้าไว้ในปากมากพอในขณะที่ดูดนม

 

ท่าอุ้มให้นมลูกแบบอุ้มลูกฟุตบอล

 

ท่านี้เป็นท่าที่เหมาะที่สุดถ้าคุณคลอดลูกด้วยการผ่าคลอด หรือมีเต้านมขนาดใหญ่ หรือมีลูกแฝด
1. อุ้มลูกไว้ใต้วงแขนของคุณ (คิดถึงภาพของนักรักบี้ที่กอดลูกบอลไว้ใต้วงแขนของเขา)
2. ประคองศีรษะและคอของลูกไว้ในมือ ให้เท้าของลูกเหยียดไปด้านหลังของคุณ
3. ใช้หมอนรองรับแขนที่คุณใช้อุ้มลูก ใช้มืออีกข้างจัดปากของลูกให้อยู่ที่เต้านมของคุณ

 

ท่าอุ้มให้นมโดยให้ลูกนอนด้านข้าง

 

น้ำนมแม่ กับเคล็ดลับในการให้นมและท่าอุ้มให้นมลูก

 

ท่านี้เป็นท่าที่ดีสำหรับคุณแม่ที่คลอดโดยการผ่าคลอด หรือกรณีที่คุณแม่หลังคลอดมีอาการปวด
1. คุณนอนตะแคงด้านข้าง โดยให้ลูกนอนอยู่ข้างๆ และหันหน้าเข้าหาคุณ
2. ให้ศีรษะของลูกอยู่บริเวณด้านล่างของเต้านม
3. เมื่อลูกดูดนมจากเต้าของคุณแล้ว ให้ใช้แขนที่อยู่ข้างล่างหนุนศีรษะของคุณ
4. คุณควรมั่นใจว่าคุณจะไม่เผลอหลับในขณะที่ป้อนนมลูก

 

การให้นมลูกในที่สาธารณะ

 

การให้นมลูกในที่สาธารณะ

 

การให้นมลูกจะง่ายขึ้น เพราะทารกที่โตขึ้นจะถูกรบกวนน้อยลงเมื่อคุณให้นมในที่เงียบสงบ การให้นมลูกเป็นเรื่องปกติ และเป็นเรื่องธรรมชาติ มันเป็นสิทธิทางกฎหมายที่คุณจะป้อนนมให้ลูกของคุณเมื่อไร และที่ไหนก็ได้ เมื่อคุณรู้สึกว่าจำเป็น คุณแม่ส่วนใหญ่หาทางแก้ปัญหาเรื่องสถานที่และวิธีการให้นมลูกในแบบที่พวกเธอรู้สึกสบายใจได้ แม้ในขณะที่พวกเธออยู่นอกบ้าน ถ้าคุณรู้สึกอึดอัดหรือกังวลในขณะที่ให้นมลูกในที่สาธารณะ คุณอาจใช้ผ้าฝ้ายบางๆ คลุมที่ไหล่ เพื่อบังลูก และหน้าอกของคุณ

 

การทำให้ลูกเรอหลังการให้นมแม่

 

การทำให้ลูกเรอหลังการให้นมแม่

 

แม้ว่าจะไม่มีอากาศอยู่ในเต้านม ลูกของคุณก็อาจกลืนอากาศเข้าไปในขณะที่งับหรือปล่อยปากจากเต้านม หรือไม่ก็อาจกลืนอากาศเข้าไปตอนที่เขาร้องไห้
• ให้ลูกดูดนมจนกว่าเขาจะปล่อยเต้านมออกจากปาก แล้วคอยดูว่าลูกพร้อมที่จะเรอแล้วหรือไม่
• การให้ลูกได้เรอเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ต้องตกใจถ้าลูกไม่เรอ เด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยน้ำนมแม่จะกลืนอากาศเข้าไปน้อยกว่าทำให้มีความจำเป็นจะต้องเรอน้อยกว่า

 

นับจำนวนผ้าอ้อมที่เปื้อน

 

นับจำนวนผ้าอ้อมที่เปื้อน

 

น้ำนมแม่มีคุณสมบัติตามธรรมชาติที่ช่วยให้การถ่ายอุจจาระเป็นไปตามปกติ และยังช่วยกำจัดขี้เทา ที่เป็นอุจจาระช่วงแรกของเด็กแรกเกิด ขี้เทาเกิดจากสิ่งที่เด็กทารกกินเข้าไประหว่างที่อยู่ในครรภ์มารดา
• อุจจาระในช่วง 48 ชั่วโมงแรกมักมีสีดำคล้ายน้ำมันดิน การถ่ายอุจจาระ 1 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด และถ่ายอีก 2 ครั้งในวันต่อมา ถือเป็นเรื่องปกติ
• ในวันที่ 3 คุณก็อาจต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างน้อย 3 ครั้ง ในแต่ละวันเพราะว่าลูกถ่ายอุจจาระ
• การถ่ายอุจจาระที่มีสีเหลืองทอง ลักษณะเป็นเม็ดๆ อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง ของเด็กที่มีอายุ 4-6 สัปดาห์ เป็นหนึ่งในสัญญาณที่ดีซึ่งแสดงให้เห็นว่าลูกดูดน้ำนมแม่ได้มากพอ

 

การที่ผิวสัมผัสกันในขณะให้ลูกดูดนมแม่

 

การที่ผิวสัมผัสกันในขณะให้ลูกดูดนมแม่

 

การที่ผิวของแม่และลูกสัมผัสกัน หรือที่เรียกกันในชื่อว่า แกงกะรูแคร์ (kangaroo care) นั้นมีประโยชน์กับแม่และลูก ลองมาดูกันว่าข้อดีของการให้นมลูกโดยที่ผิวสัมผัสกันมีอะไรบ้าง
• ช่วยให้ลูกมีอัตราการเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิร่างกายคงที่
• ช่วยให้ลูกมีรูปแบบการหายใจดีขึ้น
• ช่วยให้ลูกนอนหลับสนิทได้นานขึ้น ช่วยให้การนอนมีคุณภาพ และพร้อมกับการกินนมครั้งต่อไป
• ลดความเครียด และช่วยให้คุณและลูกรู้สึกผ่อนคลาย
• ช่วยให้มีการสร้างน้ำนมมากขึ้น

 

สัญญาณที่แสดงว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยน้ำนมแม่มีสุขภาพแข็งแรง

 

สัญญาณที่แสดงว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยน้ำนมแม่มีสุขภาพแข็งแรง

 

การที่ไม่รู้ว่าลูกกินนมไปมากน้อยเท่าใด อาจทำให้คุณรู้สึกกังวล แต่ไม่ต้องห่วง เพราะคุณสามารถรู้ได้ว่าลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ โดยดูได้ง่ายๆ จากสิ่งเหล่านี้
• การให้นมลูกเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณและลูก
• ลูกของคุณรู้สึกตื่นตัวเมื่อต้องการจะดูดนม และเขาก็ดูดนมอย่างผ่อนคลาย
• หลังการให้นม คุณจะเห็นว่าแขนและมือของลูกผ่อนคลาย
• มีการถ่ายอุจจาระตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปในแต่ละวัน สำหรับเด็กที่มีอายุ 4-6 สัปดาห์
• เต้านมของคุณนุ่มลง และมีอาการคัดตึงเต้านมลดลงหลังจากให้นมลูก
• ลูกของคุณมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 0.03-0.04 กิโลกรัมในแต่ละวันในช่วง 3 เดือนแรก

 

คุณแม่ให้นมลูกควรรับประทานอาหารเพื่อให้ได้รับพลังงานเพียงพอ

 

คุณแม่ให้นมลูกควรรับประทานอาหารเพื่อให้ได้รับพลังงานเพียงพอ

 

คุณแม่ที่ให้นมลูกต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น ประมาณ 500 แคลอรีต่อวัน เพื่อชดเชยพลังงานที่ใช้ไปในการผลิตน้ำนม คุณควรเลือกรับประทานอาหารที่ให้พลังงาน และอุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ อาหารว่างง่ายๆ และดีกับสุขภาพ เช่น
• แครกเกอร์ที่ทำจากธัญพืชเต็มเมล็ด และชีส (เนยแข็ง) ไขมันต่ำ กับมะเขือเทศที่หั่นเป็นชิ้นๆ หรือผลไม้สด
• โยเกิร์ต หรือสมูทตี้ผลไม้
• ไข่ต้มสุก หรือแซนวิชสลัดปลาทูน่า ½ ชิ้น
• ถั่วและผลไม้แห้ง ที่มีส่วนผสมของอัลมอนด์ หรือวอลนัท และเชอร์รี่อบแห้ง หรือแครนเบอร์รี่อบแห้ง