8 วิธีอาบน้ําเด็กทารก
กิจกรรมอาบน้ำในแต่ละวันนับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่และลูกน้อยที่จะใช้เวลาอยู่ด้วยกัน การกอดและถูตัวให้ลูกน้อยจะทำให้ลูกรู้สึกสนุกกับการอาบน้ำ คุณแม่มาลองทำตามคำแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้กัน
1. จัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมก่อนที่จะลงมืออาบน้ำ เช่น ผ้าขนหนูผืนสะอาด สบู่ ผ้าอ้อม และชุดที่จะใส่ให้ลูกน้อยหลังการอาบน้ำ
2. เตรียมน้ำที่จะใช้อาบให้ได้อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส
3. เริ่มตั้งแต่ก่อนที่จะเปิดน้ำจากฝักบัวราดหรือก่อนหย่อนลูกลงอาบในน้ำอุ่น
4. ใช้สบู่ถูกตัวลูกน้อยตั้งแต่หัวจรดเท้า หรือจากส่วนที่สะอาดที่สุดไปส่วนที่สกปรกที่สุดใช้มือเปล่า ๆ นวดและถูเบา ๆ หลังจากนั้นล้างฟองสบู่ออก ซึ่งช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย คุณแม่ลองใช้ฟองน้ำชุบน้ำแล้วนำมาลูบที่ผิวลูกดูก่อนว่าเขามีอาการสะดุ้งหรือไม่ เพื่อให้ลูกได้ชินกับอุณภูมิของน้ำก่อนอาบจริง
5. เมื่อลูกน้อยอยู่ในอ่างอาบน้ำคุณแม่สามารถใช้เวลานี้ร้องเพลงกล่อมเด็กหรือเล่านิทาน เพื่อทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายยิ่งขึ้น
6. ใช้ผ้าขนหนูซับตัวลูกน้อยให้แห้งอย่างเบามืออย่าถูแรง ๆเพราะจะทำให้ลูกน้อยเจ็บได้ และอย่าลืมเช็ดซอกคอและง่ามเท้าของลูกน้อยให้แห้งด้วย
7. หลังจากเวลาการอาบน้ำจะเป็นช่วงที่ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย เหมาะที่คุณจะตัดเล็บเท้า (ใช้กรรไกรตัดเล็บเล็ก ๆ ที่โค้งมน) และทำความสะอาดใบหู (ไม่เข้าไปในรูหู) และเช็ดจมูกหากมีน้ำมูกไหลออกมา
8. เมื่อแต่งตัวเสร็จลูกน้อยก็พร้อมที่จะเรียนรู้ วันที่เต็มไปด้วยเรื่องน่าตื่นเต้นหรือพร้อมที่จะหลับในค่ำคืนที่เป็นสุข "สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปก็ควรอาบวันละ 2 ครั้ง"
การฝึกลูกเข้าห้องน้ำ
การฝึกเข้าห้องน้ำไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับลูกน้อย การไปห้องน้ำไม่ใช่แค่การฝึกหัดเท่านั้น แต่เป็นเรื่องพัฒนาการทางกายภาพ เพราะลูกน้อยต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะด้วย
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรฝึกการเข้าห้องน้ำนี้ในช่วงวัยประมาณ 18 เดือน หากลูกน้อยได้รับการฝึกนั่งกระโถนมาก่อนก็เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่จะฝึกเข้าห้องน้ำ คุณแม่ควรพึงระวังอย่าใช้วิธีบังคับลูกน้อยมากนัก คุณแม่ควรช่วยลูกให้เรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป
• อธิบายให้ลูกน้อยรักษาความสะอาดจุดซ่อนเร้นของเด็กหญิงและเด็กขาย และชี้ชวนให้เด็กเห็นว่าเมื่อเปลี่ยนจากใช้ผ้าอ้อมมาเป็นกางเกงชั้นในน่ารัก ๆ หรือกางเกงรัดเข่าจะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสะดวกขึ้น
• ไม่จำเป็นต้องเร่งให้เขานั่งกระโถน ซึ่งจะทำให้ลูกน้อยเครียด เขาอาจจะฉี่ออกมาก่อนที่จะไปถึงห้องน้ำ นั่นเป็นเพราะเด็กไม่คิดอยากจะไปห้องน้ำเลย
• คุณแม่ควรเลือกกระโถนแบบเรียบ ๆ อย่าให้ลูกน้อยรู้สึกสับสนว่าเป็นของเล่น ลูกน้อยต้องการความมั่นใจและกำลังใจและไม่ควรกดดันเขา หากเขาไม่เข้าห้องน้ำ อย่าทิ้งให้ลูกน้อยนั่งกระโถนนานกว่า 10 นาที เพราะอาจดูเหมือนเป็นการลงโทษ
• อย่าเปรียบเทียบลูกน้อยกับเด็กอื่น เพราะเด็กจะมีพัฒนาการไม่เท่ากัน แม้จะมีคำแนะนำมากมายที่จะฝึกเข้าห้องน้ำ หากแต่ขึ้นอยู่กับความอดทน ความเข้าใจของคุณที่จะเป็นกำลังใจให้ลูกน้อยฝ่าฟันประสบการณ์นี้ได้สำเร็จลุล่วงไป