MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: การกลับไปทำงานหลังการลาคลอด

Add this post to favorites

การกลับไปทำงานหลังการลาคลอด

การดูแลเด็กแรกเกิดเปรียบเสมือนงานที่ไม่มีวันหยุด คุณแม่และครอบครัวต้องเสียสละเวลาเพื่อลูกน้อย เมื่อถึงเวลาที่คุณแม่ต้องกลับไปทำงาน จึงต้องงัดความสามารถด้านการจัดการออกมาใช้นั่นเอง

1นาที อ่าน

การดูแลลูกน้อย และการจัดการเวลา
 

แม้ว่าคุณแม่จะสามารถจัดการเวลาในการทำงานได้ดี แต่เมื่อถึงเวลาที่ลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว คุณแม่จำเป็นต้องเพิ่มช่วงเวลาให้ลงตัวกับหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะคุณพ่อคุณแม่ของลูกน้อย การฟื้นฟูสุขภาพ การมีแขกมาเยี่ยมเรื่อยๆ และงานบ้านมากมายที่ต้องจัดการ อาจทำให้คุณแม่วุ่นวายเป็นอย่างมาก ในช่วงสัปดาห์แรกๆ คุณแม่อาจจะรู้สึกเหนื่อย แต่อย่าลืมคนรอบข้างที่พร้อมจะช่วยแบ่งเบาภาระต่างๆของคุณแม่ การพยายามในการเป็นสุดยอดคุณแม่อาจต้องการความช่วยเหลือจากคุณพ่อ ครอบครัว หรือพี่เลี้ยงเด็กร่วมด้วย
 

การกลับไปทำงานหลังการลาคลอด
 

การกลับไปทำงาน
 

หากคุณแม่มีความตั้งใจหรือมีความจำเป็นต้องกลับไปทำงานหลังจากคลอด คุณแม่ควรมองหาศูนย์ดูแลเด็กตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ และต้องแน่ใจว่าศูนย์ดูแลเด็กนั้นมีคุณสมบัติเหมาะสมและไว้ใจได้ หากคุณแม่วางแผนจะจ้างพี่เลี้ยงเด็ก คุณแม่ต้องเลือกพี่เลี้ยงจำนวนหนึ่งเตรียมพร้อมไว้ตั้งแต่ก่อนที่จะพาลูกน้อยกลับบ้าน และต้องให้พี่เลี้ยงมาช่วยดูแลตั้งแต่วันแรกๆ ที่กลับบ้าน อธิบายและถ่ายถอดหน้าที่ความรับผิดชอบให้พี่เลี้ยงเด็กอย่างชัดเจนในขณะที่คุณแม่ยังลาคลอดอยู่ อย่างไรก็ตาม การมีพี่เลี้ยงเด็กที่บ้านไม่ได้หมายความว่าคุณแม่ไม่จำเป็นต้องดูแลลูกน้อย คุณแม่ควรทำหน้าที่ดูแลลูกน้อยให้นาน และให้มากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความผูกพันระหว่างคุณแม่และลูกน้อยได้ดี
 

การดูแลลูกน้อยและงานต่างๆ
 

คุณแม่ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า เพื่อให้สามารถจัดการการทำงานและดูแลลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่ารู้สึกผิดกับการที่ไม่สามารถอยู่กับลูกน้อยได้ทั้งวัน ลูกน้อยสามารถมีความสุขได้หากเขาได้รับการดูแลอย่างเพียงพอและได้รับความรักจากสมาชิกในครอบครัวในขณะที่คุณแม่ไม่อยู่ สมาชิกในครอบครัวอาจไม่สามารถทดแทนคุณแม่ได้ แต่เขาสามารถช่วยดูแลจัดหาสิ่งที่ลูกน้อยต้องการในขณะที่คุณแม่กำลังทำงานได้ พยายามโทรกลับมาหาคนที่บ้านหรือพี่เลี้ยงเพื่อสอบถามความเป็นอยู่ของลูกน้อยเป็นประจำ หากเป็นไปได้ คุณแม่ควรเริ่มห่างจากลูกน้อยในช่วงระยะเวลาสั้นๆ 2-3 ชั่วโมง แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้นเพื่อการปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
 

อยู่กับลูกน้อยด้วยเวลาคุณภาพ
 

คุณแม่ควรให้ความสนใจและแสดงความรักแก่ลูกน้อยมากๆ เมื่อคุณแม่อยู่บ้าน ทำให้เวลาเหล่านี้เป็นเวลาที่มีคุณภาพเมื่อคุณอยู่ด้วยกัน ถึงแม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม ทำให้ลูกน้อยสงบและมีความสุข เล่นกับเขา ร้องเพลงกับเขา ป้อนอาหาร และนวดให้ลูกน้อย พยายามสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นกับลูกน้อย แม้ในช่วงที่ว่างจากการทำงานในขณะที่อยู่ที่ที่ทำงานก็ตาม
 

การกลับไปทำงานหลังการลาคลอด
 

พูดคุยกับหัวหน้างาน
 

ลองพูดคุยกับหัวหน้างานหากมีความเป็นไปได้ในการมีชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น เพื่อให้คุณแม่มีเวลากับลูกน้อยได้อย่างเพียงพอ คุณแม่อาจสอบถามถึงสวัสดิการหรือการอำนวยความสะดวกถึงการดูแลลูกน้อยในที่ทำงาน และการขอช่วงเวลาพักสำหรับการให้นมแม่แก่ลูกน้อย หรือการมีบริเวณที่มีความเป็นส่วนตัวที่สะอาดสำหรับการปั๊มนมและเก็บน้ำนมในตู้เย็นของที่ทำงานเพื่อนำไปเลี้ยงลูกน้อยต่อไป
 

การพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพหลังคลอด
 

นัดแพทย์ในช่วงเวลาที่คุณแม่สะดวก และไปพบแพทย์ด้วยตัวเองทุกครั้งกับลูกน้อย ไม่ว่าคุณแม่จะทำงานอะไร ลูกน้อยควรถูกจัดอยู่ในความสำคัญอันดับแรกสุดของคุณแม่ และคุณแม่ควรหาเวลาไปพบแแพทย์กับลูกน้อยและอยู่กับเขาในช่วงเวลาที่เขาต้องการคุณแม่
 

การเก็บน้ำนมแม่ล่วงหน้า
 

หากคุณแม่วางแผนสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณแม่ควรปั๊มนม และเตรียมนมเก็บไว้อย่างน้อย 3-4 วันก่อนกลับไปทำงาน การเก็บน้ำนมควรเก็บอย่างระมัดระวังในภาชนะหรือในถุงเก็บน้ำนมที่ปลอดเชื้อและอากาศเข้าไม่ได้ และเก็บในตู้เย็นเพื่อเอาไว้ใช้ในครั้งต่อๆ ไป คุณแม่อาจแช่แข็งน้ำนมที่ปั๊มได้ในภาชนะหรือถุงที่มีขนาดพอดีกับการกินต่อครั้งของลูกน้อย เพื่อละลายเอาน้ำนมมาใช้เฉพาะในปริมาณที่ต้องการในแต่ละครั้งเท่านั้น พยายามฝึกให้ลูกน้อยสามารถกินนมจากการป้อนของพี่เลี้ยงหรือผู้ดูแลในขณะที่คุณแม่ไม่อยู่ให้ได้ก่อนที่คุณแม่จะกลับไปทำงานน

การคลอดลูกและการดูแลทารกแรกเกิดเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีสูตรสำเร็จที่ดีที่สุดในการสร้างจุดสมดุลระหว่างความต้องการต่างๆ ของคนในครอบครัวในขณะที่ต้องจัดการกับอาชีพหน้าที่การงานที่ท้าทาย ลองทดลองและหาวิธีและทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุดสำหรับตัวคุณแม่และลูกน้อย คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวล ความรักที่คุณแม่มีต่อลูกน้อย จะช่วยให้คุณแม่สามารถจัดการชีวิตเพื่อลูกน้อย และรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้ในที่สุด