สังเกตอาการป่วยของวัยเด็ก
การป่วยของเด็กทารก เด็กวัยเตาะแตะ หรือเด็กโตเป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาการของร่างกาย การเจ็บป่วยหรือการได้รับเชื้อโรคต่างๆ จะช่วยสร้างความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน สร้างเกราะป้องกันให้สุขภาพ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคในครั้งถัดไป คุณแม่เพียงแค่ต้องดูแลให้ลูกน้อยพักผ่อนอย่างเพียงพอ กินผักผลไม้สดเป็นประจำ ให้ความรักและความใส่ใจ ให้ลูกได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ นอนหลับอย่างมีคุณภาพเพื่อช่วยหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วย หรือช่วยให้ลูกสามารถผ่านช่วงเวลาที่ป่วยไปได้ด้วยดี ขอให้คุณแม่เชื่อมั่นในสัญชาตญาณของตนเองเมื่อต้องตัดสินใจว่าควรจะพาลูกไปพบแพทย์หรือไม่
สิ่งที่คุณแม่ต้องเฝ้าระวังเมื่อลูกป่วย
สุขภาพของเด็กวัยเตาะแตะมักอ่อนแอ แต่เขาก็สามารถฟื้นตัวได้เร็วมากเมื่อป่วย ในช่วงที่ลูกป่วย คุณแม่จำเป็นต้องกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อดูแลสุขภาพ และความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น เพื่อติดตามอาการป่วยและช่วยให้หายป่วยเร็วขึ้น แต่หากคุณแม่พบอาการน่าสงสัยดังต่อไปนี้ ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ แม้ว่าลูกไม่มีอาการรุนแรง การพบแพทย์ก็คุ้มค่าที่จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายใจ และได้ความรู้เพื่อดูแลลูกน้อยได้อย่างเหมาะสม
ความมั่นใจและความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรมี เพื่อช่วยในการจัดการหากเกิดปัญหาขึ้นอีกในครั้งต่อไป
• ลูกน้อยไม่ยอมดื่มน้ำและเข้าห้องน้ำน้อยมาก
• มีอาการง่วงซึม ปลุกให้ตื่นยาก
• ร้องไห้โยเย หรือร้องไห้จ้าหลายชั่วโมง และไม่สามารถปลอบให้สงบได้ด้วยวิธีปกติ
• สีผิวเปลี่ยนไป ผิวเหลือง หรือม่วง หรือมีผื่นแดง
• มีไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงตลอดเวลา หรือมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย หรือมีประวัติคนในครอบคร้วที่มีอาการชักจากไข้
• มีไข้นาน 2-3 วันหรือมากกว่านั้น
• ถ่ายเหลว หรือถ่ายบ่อย ซึ่งอาจทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อม และอาการปวดท้อง
• อาเจียนแบบพุ่ง โดยไม่มีการขับถ่ายแม้จะกินอาหารมาต่อเนื่องหลายมื้อ
• ร้องไห้หลังการถ่ายแบบกระปริดกระปรอยหรือเป็นเม็ด อุจจาระมีเลือดปน หรือมีเมือกเหนียวสีขาว เป็นฟอง หรือถ่ายบ่อยและมีกลิ่นแรงกว่าปกติ
• มีอาการหวัดที่สร้างความลำบากให้การหายใจ หรือการดูดนม หรือการกินอาหาร
• มีผื่นขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ ในบางส่วนหรือทุกส่วนของร่างกาย
• มีจุดแดง รอยแดงที่นัยน์ตา หรือมีขี้ตามาก
• อุ้มแล้วยังร้องไม่หยุด แม้จะเป็นช่วงป้อนนมหรือท่าอุ้มที่เคยชิน
• มีรอยไหม้ หรือรอยแผลที่คุณแม่ไม่แน่ใจว่าควรดูแลอย่างไร
• คุณแม่มีความรู้สึกไม่สบายใจ
ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ได้ และหากคุณแม่มีข้อสงสัยในเรื่องสุขภาพของลูกวัยเตาะแตะ การไปพบแพทย์เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะช่วยคลายความกังวลต่างๆ