MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: “อัจฉริยะตัวน้อย” ทารกเกิดมาพร้อมความฉลาดแบบผู้ใหญ่?

Add this post to favorites

“อัจฉริยะตัวน้อย” ทารกเกิดมาพร้อมความฉลาดแบบผู้ใหญ่?

การที่ลูกได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ช่วยสร้างพัฒนาการด้านสมองที่ดีขึ้น ซึ่งคุณแม่สามารถส่งเสริม และช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยได้ด้วยเคล็บลับง่ายๆ ดังนี้

1นาที อ่าน

พัฒนาการทางร่างกาย

 

ช่วงขวบปีแรกลูกน้อยจะมีพัฒนาการทางร่างกายที่น่าทึ่งให้คุณแม่พบเห็นอยู่บ่อยๆ น้ำหนักของลูกจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า และส่วนสูงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงแรกเกิด แต่คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การเจริญเติบโตที่สำคัญกว่า คือสิ่งที่อยู่ภายในสมองของลูกน้อย ที่จะสร้างจุดเชื่อมต่อเซลล์ประสาทมากถึง 2 ล้านจุดต่อวินาทีในช่วง 24 เดือนแรกของชีวิต

 

“อัจฉริยะตัวน้อย” ทารกเกิดมาพร้อมความฉลาดแบบผู้ใหญ่?

 

ในเรื่องนี้ กุมารแพทย์ ฟิลิป แกรนด์เซนน์ ผู้เขียนหนังสือ “Baby tell me about your first times" and "Baby, tell me who you are" ได้อธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนสำคัญในการทำงานของระบบประสาทไว้อย่างน่าสนใจ

 

ทารกเกิดมาพร้อมกับความฉลาดเหมือนผู้ใหญ่จริงหรือไม่?

 

ฟิลิป แกรนด์เซนน์ อธิบายว่า “แม้ฉันจะทำงานกับเด็กเล็กๆ มาหลายปีแล้วก็ตาม แต่ฉันก็ยังมีความอยากรู้ว่าทารกมีความสามารถทางสติปัญญาอย่างเต็มศักยภาพตั้งแต่แรกเกิดเลยหรือไม่? อาจฟังดูแปลกๆ ที่ได้รู้ว่า สมองของทารกแรกเกิดมีจุดเชื่อมต่อเซลล์ประสาทมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งถือเป็นทักษะที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดของมนุษย์”

ตัวอย่างเช่น ลูกน้อยสามารถรับรู้เสียงต่างๆ ได้หลากหลาย ขณะที่ภาษาแม่ซึ่งเป็นภาษาหลักจะเป็นตัวกำหนดการได้ยินและการพูดของพวกเขา โดยลูกน้อยสามารถตอบสนองทางกายได้อย่างอัตโนมัติในบางกรณี เช่น กำมือ กอดอก หรือการเดิน พัฒนาการทางร่างกายเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วงอายุ 8 เดือน จากนั้นการเชื่อมต่อระบบประสาทของลูกน้อยจะค่อยๆ ลดลง เพื่อสร้างพื้นที่ว่างสำหรับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน นักประสาทวิทยาเรียกว่า "Neural Massacre" เปรียบเสมือนว่าสมองจำเป็นต้องป้อนข้อมูลด้วยตัวเอง เพื่อที่จะเกิดการพัฒนาต่อไป!

 

บทบาทของการศึกษาและการเรียนรู้

 

ในความเป็นจริงเราจะเห็นความฉลาดของลูกน้อย เมื่อเขาสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และสามารถปรับตัวกับสถานการณ์ใหม่ๆ ได้ด้วยตัวเอง ทักษะด้านการเคลื่อนไหวและความสามารถด้านอารมณ์ของลูกสามารถสังเกตได้จากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวของเขา สมองจะบันทึกทุกสิ่งและไม่มีอะไรที่สามารถคลาดไปจากความสนใจของลูกน้อยได้เลย และด้วยความรวดเร็วฉับไวของประสาทสัมผัสทั้งห้า และการได้ยินเสียงพูดคุยของคุณแม่หรือคนรอบตัวตลอดวัน จะช่วยให้สมองของลูกน้อยค่อยๆ จัดระบบต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ข้อมูลจำนวนมากจะถูกบันทึกในสมองอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ผ่านสิ่งที่ช่วยฝึกฝนการพูด การกินด้วยตัวเอง การเข้าห้องน้ำ และประสบการณ์ด้านความรู้สึกและอารมณ์ต่างๆ พัฒนาการเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาค้นคว้าต่อไปวิธีกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย เพื่อเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวของร่างกายและเพื่อสร้างความตื่นตัวให้ลูกน้อย

 

วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย

 

การใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยให้เขาได้มีส่วนร่วมภายในครอบครัว ช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยได้เช่นกัน เด็กๆ มีความสนใจในกิจกรรมของทุกคนในครอบครัวอยู่แล้ว แต่อย่าบังคับหรือฝึกให้ลูกเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากเกินไป หากลูกน้อยต้องการให้กอด คุณแม่ก็ควรกอดเขาโดยไม่ต้องกังวลกับความคิดของคนอื่น เพราะเด็กมีพัฒนาการตามวัยของตัวเอง พ่อ-แม่จึงต้องปรับตัวให้เหมาะสม ซึ่งฉันมักจะเตือนสิ่งเหล่านี้กับพ่อแม่ที่มีค่านิยมการตั้งมาตรฐานความคาดหวังในตัวลูกน้อยที่สูงเกินไป

From Nestlé global toolkit