MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: เล่นสนุกอย่างไรให้ “พอดี” สำหรับทารกและวัยเตาะแตะ

Add this post to favorites

เล่นสนุกอย่างไรให้ “พอดี” สำหรับทารกและวัยเตาะแตะ

การเล่นสนุกกับของเล่นและเกมจำเป็นสำหรับพัฒนาการของลูกน้อยหรือไม่? การมีของเล่นรายล้อมรอบตัวลูกน้อยเท่ากับคุณกำลังกระตุ้นความสนใจของลูกมากเกินไปหรือเปล่า?

1นาที อ่าน

ว่าแต่การเล่นสนุกอย่างไรถึงจะพอดีสำหรับทารกและวัยเตาะแตะ? เป็นธรรมดาที่คุณพ่อ-คุณแม่ทุกคนล้วนอยากให้ลูกน้อยมีของเล่นมากมาย ด้วยเข้าใจว่าของเล่นเหล่านั้นจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการและการเรียนรู้ได้อย่างดี

 

เล่นสนุกอย่างไรให้ “พอดี” สำหรับทารกและวัยเตาะแตะ

 

ทว่าอะไรที่มากเกินไปก็อาจกระตุ้นความสนใจและความตื่นเต้นของลูกน้อยในเวลาเดียวกัน เทคนิคง่ายๆ เมื่อคุณแม่มีของเล่นจำนวนมาก แนะนำให้เก็บของเล่นสักครึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 3 ของจำนวนที่มีใส่กล่องไว้ก่อน แล้วค่อยสับเปลี่ยนหมุนเวียนมาให้ลูกได้เล่นในแต่ละสัปดาห์ หรือทุกๆ 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับเวลาที่คุณแม่สามารถร่วมเล่นสนุกกับลูกได้ แล้วเกมแบบไหนล่ะ? ถึงจะเหมาะสมกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของลูกน้อย

 

เกมสนุกเพื่อพัฒนาการของทารกและวัยเตาะแตะ

 

เกมสำหรับทารก: อายุ 6-12 เดือน
● “จ๊ะเอ๋” เกมยอดนิยมสำหรับทารกทั่วโลก คุณสามารถเล่นได้ทุกที่เพื่อช่วยสอนหลักของการมีอยู่และการหายไปของสิ่งต่างๆ
● “เป่าฟองสบู่” เด็กๆ มักจะชอบดูฟองสบู่แวววาวที่ล่องลอยไปในอากาศก่อนจะแตกกระจายหายไป
● “ร้องเพลงเด็ก” เพลงจำเป็นสำหรับวัยเด็ก เพื่อพัฒนาการด้านภาษาและอารมณ์
● “เกมต่อของ” ทั้งในแนวตั้งหรือแนวนอน เช่น รถไฟ บล็อค ของเล่นที่มีปุ่มสำหรับกดหรือดัน
● “อ่านหนังสือที่มีผิวสัมผัส” เพื่อให้ทารกได้แตะสัมผัสและรับรู้ถึงความแตกต่าง
● “กลิ้งลูกบอลนิ่มๆ” เด็กๆ มักจะสนุกกับการเห็นบอลนุ่มนิ่มกลิ้งอยู่รอบตัว และคุณสามรถทำเสียงประกอบระหว่างบอลกลิ้ง

 

เล่นสนุกอย่างไรให้ “พอดี” สำหรับทารกและวัยเตาะแตะ

 

เกมสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ: อายุ 12 - 24 เดือน

 

● ตัวต่อหรือจิ๊กซอว์ง่ายๆ
● “แต่งตัว” ลองหากล่องสักใบใส่เสื้อผ้าและแอคเซสเซอรี่ต่างๆ เช่น หมวก รองเท้า กระเป๋า เสื้อโค้ท เสื้อคลุม กระโปรง และกางเกง เพื่อให้ลูกน้อยสวมใส่และถอดเล่นได้ตามต้องการตลอดทั้งวัน
● “หนังสือรูปภาพ” หนังสือที่มีภาพสิ่งของ สัตว์ต่างๆ และรูปครอบครัวที่สามารถระบุสมาชิกแต่ละคนได้
● เปิดโอกาสให้ลูกเลือกสิ่งของคล้ายๆ กัน เช่น สี หรือรูปร่าง โดยคุณแม่สามารถชวนลูกเล่นเกมนี้ระหว่างเก็บของเล่นได้
● ให้ลูกน้อยมีส่วนร่วมในการทำงานบ้าน เช่น กวาดบ้าน อาบน้ำสุนัข ทำสวน ล้างจาน เป็นต้น
● ให้ลูกน้อยใช้พื้นที่ที่หลากหลาย เช่น การกระโดดเข้าช่อง หรือห่วงต่างๆ
● กระตุ้นให้เกิดการคืบ คลาน ผ่านสิ่งกีดขวางต่างๆ
● ขว้าง-รับบอลกับลูก ควรเลือกใช้ลูกบอลที่มีขนาด ผิวสัมผัส และน้ำหนักที่แตกต่างกัน