ปริมาณน้ำนมที่ผลิตได้และปริมาณที่ลูกน้อยต้องการ
การผลิตน้ำนมเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและมีการปรับสภาพตามความต้องการของลูกน้อย ต่อมพิทูอิทารีจะผลิตฮอร์โมน 2 ชนิด คือ โปรแลคติน และออกซิโทซิน ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการไหลของน้ำนม กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางของการตั้งครรภ์ ดังนั้น กลไกทั้งหมดจึงพร้อมทำงานเมื่อลูกน้อยคลอดออกมา หรือแม้แต่ในการคลอดที่เกิดขึ้นก่อนกำหนด
● หลังคลอดหรือก่อนการคลอดเล็กน้อย ร่างกายของคุณแม่จะผลิตโคลอสตรัม หรือน้ำนมเหลือง ที่มีสีเหลืองข้น และมีรสหวาน เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของทารกแรกเกิด
● ระยะ “น้ำนมระยะปรับเปลี่ยน” น้ำนมนี้จะเริ่มผลิตในช่วง 2-5 วันหลังคลอด คุณจะรู้สึกหนักบริเวณเต้านม เต้านมร้อน และแข็งขึ้น บางครั้งอาจรู้สึกเหมือนเต้านมบวมมาก ซึ่งเป็นความรู้สึกใหม่ที่อาจทำคุณแปลกใจ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นความปกติของร่างกายคุณแม่หลังคลอด
● หลังการให้นมผ่านไป 2 สัปดาห์ น้ำนมจะเข้าสู่ระยะ “น้ำนมแม่อย่างสมบูรณ์ “ องค์ประกอบของน้ำนมจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตลอดช่วงที่คุณแม่ให้นมลูก เพื่อให้เหมาะกับความต้องการในการเจริญเติบโตของลูกน้อย
ข้อควรปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
● ควรเปลี่ยนข้างเต้านมในการให้นมแต่ละครั้ง เพื่อไม่ให้นมเหลือค้างอยู่ในเต้า หรือจะใช้วิธีสลับให้นมทั้ง 2 ข้าง ในการให้นมครั้งเดียวกัน ลองเลือกวิธีที่เหมาะสมกับคุณแม่เพื่อให้ผลิตน้ำนมได้มากที่สุด
● ปล่อยให้ลูกน้อยดูดตามจังหวะหรือใช้ระยะเวลาในการดูดตามต้องการ
ถึงตอนนี้คุณแม่มั่นใจได้ว่าคุณแม่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอแน่นอน ไม่แน่ว่าคุณแม่อาจเปลี่ยนความสงสัยเป็นว่าลูกน้อยกินนมบ่อยพอหรือไม่ เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงไม่มีกฎที่ตายตัวสำหรับระยะเวลาหรือจำนวนครั้งของการให้นม ไม่มีปริมาณขั้นต่ำหรือปริมาณสูงสุดของจำนวนครั้งในการให้นม หรือระยะเวลาที่ควรเว้นระหว่างช่วงการให้นมแต่ละครั้ง คุณสามารถเปลี่ยนข้างในการให้นมแต่ละครั้ง หรือจะสลับเต้าระหว่างการให้นมภายในครั้งเดียวกันก็ได้ เลือกวิธีที่เหมาะสำหรับตัวคุณแม่เอง เพื่อให้มีการผลิตน้ำนมได้มากที่สุด
ในช่วง 2 เดือนแรก จำนวนครั้งในการให้นมลูกน้อยจะเฉลี่ยประมาณ 8-12 ครั้ง ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง รวมทั้งตอนกลางคืนด้วยเมื่อมีการให้นมแม่อย่างสม่ำเสมอสักระยะหนึ่ง ลูกน้อยจะได้รับนมตามเวลาที่เขาต้องการรูปแบบการให้นมขึ้นอยู่กับวิธีการดูดนมของลูกน้อย โดยทั่วไปทารกมักใช้เวลา 10-30 นาทีในการดูดนมแต่ละครั้ง คุณแม่จึงควรปล่อยให้ลูกน้อยเป็นผู้กำหนดความถี่ และปริมาณของนมที่เขาต้องการ
วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่
ปริมาณน้ำนมที่ร่างกายคุณแม่ผลิตจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพของคุณแม่เอง ซึ่งสิ่งที่คุณแม่สามารถช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้ดีนั้นมีดังนี้
• ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
• พักผ่อนอย่างเพียงพอ ขอความช่วยเหลือจากคนในบ้านสำหรับเรื่องการเตรียมอาหารและการทำงานบ้าน
• อย่าจำกัดอาหาร การให้นมลูกสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
• อย่าอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง หากไม่มีเวลา ก็ควรหาของกินรองท้องสักเล็กน้อย
• ดื่มชากาแฟแต่พอดี ดื่มน้ำสมุนไพร ชาผลไม้ หรือน้ำเปล่าให้มากๆ
• กินอาหารให้สมดุลและหลากหลาย อาหารที่ควรกินทุกวันได้แก่ ธัญพืชโฮลเกรน คาร์โบไฮเดรต เนื้อสัตว์ ไข่ เนื้อปลา (โดยเฉพาะปลาไขมันสูง เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล และแซลมอน ซึ่งอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3) ผลไม้ ผักสุกและผักสด นมและผลิตภัณฑ์จากนม และกินถั่วต่างๆ ให้ได้หลายๆ มื้อใน 1 สัปดาห์ เช่น ถั่วเลนทิล ถั่วชิกพี ถั่วปากอ้า เป็นต้น
• ดื่มน้ำมากๆ น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการผลิตน้ำนมให้เพียงพอ เลือกเครื่องดื่มที่คุณชอบได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเปล่า หรือชาสมุนไพร เป็นต้น
• อาหาร เครื่องเทศ และสมุนไพรที่ช่วยเพิ่มการผลิตน้ำนม เช่น แครอท ยี่หร่า ผักสลัดน้ำ ถั่วเลนทิล บาร์เลย์ ข้าวฟ่าง โป๊ยกั๊ก ขมิ้น กะเพรา
• ผักชี
เกร็ดความรู้
นอนซะนะลูกน้อย… น้ำนมมีฮอร์โมนโคลีซีสโตไคนิน (Cholecystokinin) ซึ่งช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกอิ่มและง่วงนอนหลังการให้นม