MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: วิธีการเลี้ยงเด็กแรกเกิด พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

Add this post to favorites

วิธีการเลี้ยงเด็กแรกเกิด พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ไม่ยากอย่างที่คิด วิธีเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือนแรก สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เคล็ดลับการเลี้ยงเด็กแรกเกิด และการดูแลลูกน้อยอย่างถูกต้อง อย่างคุณแม่มืออาชีพ

2นาที อ่าน

คุณแม่ตื่นเต้นมั้ยคะ? เชื่อว่าท้องแรก คุณแม่มือใหม่ทุกคนต้องตื่นเต้นอย่างแน่นนอน เพราะมีสมาชิกตัวน้อยๆ เข้ามาเติมเต็มชีวิตครอบครัว แต่ความยินดีก็จะตามมาด้วยความกังวลใจต่างๆ กลัวว่าเราจะเลี้ยงลูกน้อยได้ดีมั้ย กลัวเจ้าตัวเล็กจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่หรือเปล่า ยิ่งเมื่อลูกน้อยคลอดออกมาตั้งแต่วันแรก การเลี้ยงเด็กแรกเกิดคุณแม่ต้องรับมืออย่างไร แต่คุณแม่อย่างเพิ่งป็นกังวลเกินไปนะคะ เพราะเรามี 4 เคล็ดลับง่ายๆ ในการเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน ให้ราบรื่นเปรียบเสมือนคุณแม่มืออาชีพกันเลยล่ะ

4 วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือนแรกสำหรับคุณแม่มือใหม่

1. วิธีจับลูกเรอ

จับลูกเรอ

วิธีจับลูกเรอ หรือการทำให้ทารกเรอทุกครั้งหลังทานนม มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน เพราะเป็นการช่วยเอาลมออกจากกระเพาะอาหารของทารก เนื่องจากกระเพาะของทารกนั้นมีเนื้อที่จำกัด และในขณะทานนมทารกจะกลืนลมเข้าไปด้วย ทำให้มีพื้นที่สำหรับนมน้อยลง ทานนมได้ลดลง นอกจากนี้การมีลมในกระเพาะมากยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทารกสำรอกนมได้ง่ายและบ่อยขึ้น วิธีจับลูกเรอจึงเป็นวิธีช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง และทำให้ท้องว่างซึ่งสามารถรับนมได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งวิธีจับลูกเรอสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

วิธีจับลูกเรอด้วยท่านั่งบนตัก ทำได้โดยอุ้มทารกนั่งบนตักใช้มือประคองคางทารกไว้ ให้คางอยู่ระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้โดยมือจะอยู่บริเวณหน้าอกและลิ้นปี่พอดี ยกมือ ยืดตัวลูกให้ตรงเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย ใช้มืออีกข้างลูบหลังเบาๆ ช้าๆ ที่ด้านหลังจากเอวขึ้นมาถึงต้นคอ จะเป็นการไล่ลมขึ้นมาได้
วิธีจับลูกเรอด้วยการอุ้มพาดต้นแขน โดยอุ้มทารกนั่งบนตักให้คางทารกพาดบนท่อนแขนโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย ใช้มืออีกข้างลูบหลังเบาๆ ช้าๆ ที่ด้านหลังจากเอวขึ้นมาถึงต้นคอ จะเป็นการไล่ลมขึ้นมาได้
วิธีจับลูกเรอด้วยการอุ้มพาดไหล่ โดยอุ้มทารกขึ้นศีรษะพาดบ่า ตะแคงหน้าทารกไปด้านใดด้านหนึ่ง ใช้มืออีกข้างลูบหลังเบาๆ ช้าๆ ที่ด้านหลังจากเอวขึ้นมาถึงต้นคอ จะเป็นการไล่ลมขึ้นมาได้
วิธีจับลูกเรอด้วยท่านอนนบนอก โดยอุ้มทารกแนบลำตัวมารดาตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยมารดาอยู่ในท่านอนหงายศีรษะสูง แล้วใช้มืออีกข้างลูบหลังเบาๆ ช้าๆ ที่ด้านหลังจากเอวขึ้นมาถึงต้นคอ จะเป็นการไล่ลมขึ้นมาได้

2. การจัดท่านอนทารกแรกเกิด
คุณแม่เคยสังเกตท่านอนทารกกันมั้ย? ท่านอนทารกบางท่า อาจทำให้เกิดอันตรายจากโรค Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) หรืออาการเสียชีวิตกะทันหันของทารกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน ซึ่งเป็นวัยที่บอบบางและต้องการการดูแลจากคุณแม่อย่างใกล้ชิด คุณแม่ทุกท่านจึงควรหมั่นสังเกตดูว่าลูกน้อยของเรานอนอยู่ในท่าที่ปลอดภัยหรือไม่ เช่น นอนด้วยท่านอนหงาย ไม่ใช่นอนคว่ำ เพราะอาจอุดกลั้นทางเดินหายใจ หรือคลุมหน้า/หัวทารกด้วยผ้าห่ม อาจทำให้ผ้าห่มไปปิดกั้นทางเดินหายใจ ดังนั้นการจัดท่านอนของทารกจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันอันตรายจากการนอนที่ไม่คาดคิด มาดูการจัดท่านอนทารกแรกเกิดที่ปลอดภัยกันค่ะ
แนะนำให้จัดท่านอนทารก โดยนอนหงายหันหน้าไปด้านข้างใดข้างหนึ่ง ท่านอนหงายตะแคงหน้าจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไหลตายในทารก (SIDS) ได้เป็นอย่างดี เพราะท่านี้จะช่วยให้ระบบทางเดินหายใจของทารกทำงานได้สะดวก เพื่อป้องกันการสำลักนม หากคุณแม่กังวลว่าอาจทำให้ทารก หัวเบี้ยว หัวแบนนั้น อาการหัวเบี้ยวหัวแบนสามารถป้องกันได้โดยการจัดศีรษะทารกให้สลับด้าน บ่อยๆ ระหว่างหลับค่ะ

คุณแม่จัดท่านอนลูก

การจัดท่านอนทารกแรกเกิดที่ไม่ปลอดภัย

-ท่านอนคว่ำ ไม่ปลอดภัย เนื่องจากเป็นการเพิ่มโอกาสภาวะไหลตาย (Sudden Infant Death Syndrome (SIDS)
-ท่านอนหงาย ไม่ปลอดภัยเนื่องจากอาจเกิดการสำลักนมได้
-ท่าคะแตง ไม่ปลอดภัยเนื่องจากเมื่อเด็กโตขึ้นอาจพลิกไปนอนคว่ำได้

3. วิธีอาบน้ำทารกแรกเกิด
วิธีอาบน้ำทารกแรกเกิด เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังมาก เนื่องจากเด็กทารกนั้นจะดิ้นไปมาและลื่นด้วยเมื่อถูกฟอกด้วยสบู่ การอาบน้ำลูกน้อยควรอาบวันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น สำหรับในเวลาเช้าก็ไม่ควรเช้ามาก อาจเป็นช่วงสายๆ สำหรับช่วงเย็นควรอาบน้ำก่อนพลบค่ำเป็นต้น สำหรับวันที่อากาศเย็นอาจจะใช้วิธีการเช็ดตัวแทน ฉะนั้นการอาบน้ำทารกควรเป็นไปอย่างนุ่มนวล และปลอดภัย เพียงแค่ทำตามขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้ การอาบน้ำทารกก็ไม่ใช่เรื่องน่าหนักใจอีกต่อไป

อาบน้ำทารกแรกเกิด

วิธีอาบน้ำทารกแรกเกิดแบบลงอ่าง

1.ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนอาบน้ำ ถอดเสื้อผ้าทารก ใช้ผ้าเช็ดตัวห่อทารกให้เหลือแต่ศีรษะโผล่ออกมา แบบ Mummy restaint
2.ทดสอบอุณหภูมิของน้ำ โดยการเอาหลังมือหรือข้อศอกจุ่มลงในน้ำ และใช้ฟองน้ำอาบน้ำหรือผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำ บีบให้หมาดๆ เช็ดใบหน้าตลอดจนใบหูให้สะอาด ซับให้แห้งด้วยผ้าเช็ดตัว ถ้าจะสระผม ให้อุ้มทารกด้วยมือซ้ายแบบ football hold position ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วกลางพับใบหูทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันน้ำเข้าหู ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำลูบผมให้ทั่ว แล้วใช้สบู่เหลวลูบผมของทารกและใช้ปลายนิ้วคลึงเบาๆ ให้ทั่ว แล้วล้างฟองสบู่ออกให้หมด ซับผมให้แห้งทันที ในการสระผมไม่ควรเกาศีรษะทารก เพราะจะทำให้หนังศีรษะถลอก
3. จากนั้นเปลี่ยนน้ำอุ่นในกะละมัง อาจอาจผสมเบบี้ออยล์ 2-3 หยดลงในน้ำเพื่อให้ผิวชุ่มชื้น ถอดเสื้อผ้าทารก ให้ทารกอยู่ในท่านอนหงาย จับแขนทั้งสองข้างของทารกวางไว้บนอก จับผ้าขนหนูถูตัวชุบน้ำบีบลงบนตัวทารกให้ผิวหนังเปียกพอประมาณ ใช้สบู่เหลวฟอกมือให้เป็นฟองแล้วถูตัวทารกตั้งแต่คอ หน้าอก รักแร้ ท้อง และหลังระหว่างซอกขาและก้นให้ทั่ว
4. อุ้มทารกลงในอ่างในท่าเอนนอน ยกศีรษะสูง ล้างสบู่ด้านหน้าออกให้หมด พลิกตัวทารกล้างสบู่ด้านหลังโดยใช้ลำแขนซ้ายสอด โอบไปด้านหลังและใช้อุ้งมือจับใต้แขนตรงรักแร้ของทารกหลังจากนั้นฟอกแขน และมือทารกทีละข้างแล้วล้างออกทันที
5. อุ้มทารกขึ้นจากอ่างวางบนผ้าเช็ดตัว แล้วซับตัวให้แห้ง พร้อมทำความสะอาด ตา หู จมูก สะดือ และอวัยวะต่างๆ จากนั้นใส่เสื้อผ้าและห่อตัวทารกให้อบอุ่น

นมแม่สุดยอดอาหารในการเลี้ยงเด็กแรกเกิด

นมแม่สุดยอดอาหารในการเลี้ยงเด็กแรกเกิด นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะในทุกหยดน้ำนมแม่นั้นให้ทั้งคุณค่าด้านโภชนาการ และยังเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก ฉะนั้นคุณแม่ควรให้ลูกได้ดื่มนมแม่นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับคุณแม่มือใหม่เรามีวิธีให้นมลูกที่ถูกต้องมาฝากค่ะ
- นั่งในท่าที่สบาย อาจเป็นบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงนิ่มๆ หรือมีเบาะมาหนุนร่วมด้วย
- อุ้มลูกน้อยโดยให้ท้องของลูกแนบชิดกับแม่ พยายามให้ศีรษะไหล่ และตัวลูกอยู่ในแนวเดียวกัน
- ให้หัวนมแม่แตะอยู่บริเวณจมูกของลูก แล้วใช้นิ้วเขี่ยปากลูกน้อยเบาๆ
- เมื่อลูกเริ่มอ้าปาก ให้รีบอุ้มลูกเข้าหาเต้านมทันที
- เมื่อทำได้แล้ว ปรับท่าทางให้ลูก โดยให้จมูกของเขาอยู่ห่างจากเต้านมเล็กน้อย เพื่อให้เขามีพื้นที่หายใจได้

แม้ว่าการเป็นคุณแม่มือใหม่จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่ยากเกินความพยายามที่มีความรักเป็นแรงผลักดันจริงมั้ยคะ? ในช่วงแรกคุณแม่อาจจะยังรู้สึกกังวล และเหนื่อยล้าสักหน่อย เมื่อเวลาผ่านไปสักพักคุณก็จะมีความสุขกับการเลี้ยงลูกอย่างแน่นอน และเราขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่มือใหม่ทุกคนนะคะ