ตอนแรกเราอาจไม่ได้ใส่ใจเท่าไร แต่ความกังวลก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น สิ่งที่ทำให้ท้อแท้ที่สุดก็คือความรู้สึกที่ไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย เพราะปลอบเท่าไร ลูกก็ไม่หยุดร้องไห้ คำอธิบายและเคล็ดลับเพื่อช่วยให้เจ้าตัวน้อยของคุณผ่านพ้นช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้
ทำไมลูกถึงร้องไห้มากขนาดนี้?
การร้องไห้ที่สัมพันธ์กับความกังวลที่เกิดขึ้นตอนกลางคืนจะสังเกตได้ง่าย และมันไม่เหมือนกับการร้องไห้เพราะหิวหรือเจ็บ เด็กจะแสดงให้เห็นว่าโกรธมาก เขาอาจร้องไห้ตั้งแต่ประมาณ 10 นาที จนถึงชั่วโมง หรือมากกว่านั้น การร้องไห้แบบนี้มักเกิดตอนสิ้นวัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเกิดก่อนค่ำคุณไม่ควรกังวลเกินไป เพราะการร้องไห้แบบนี้มักไม่ใช่เรื่องร้ายแรง และไม่ได้หมายความว่าลูกของคุณระเบิดอารมณ์ออกมา แต่มันแสดงว่าเขาคุ้นเคยกับจังหวะแบบพิเศษที่เขารู้สึกตอนอยู่ในท้องแม่ และช่วงหัวค่ำเป็นเวลาที่เขาตื่นตัวและกระสับกระส่ายมากที่สุด ลูกของคุณอาจกำลังรู้สึกว่ามันเป็นการยากที่จะบอกความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืน การร้องไห้จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ลูกใช้ปรับตัวให้เคยชินกับวงจรการนอน-การตื่นแบบใหม่
กุมารแพทย์บางท่านเชื่อว่า การร้องไห้แบบนี้ช่วยให้ลูกได้ปลดปล่อยความกังวลและความคับข้องใจที่สะสมไว้ตอนกลางวัน มันช่วยคลายเครียดหลังจบวันที่เต็มไปด้วยการผจญภัยใหม่ๆ และอารมณ์ใหม่ๆ การร้องไห้ยังเป็นวิธีการสื่อสารแบบเดียวที่ทารกทำได้อีกด้วย ช่วงเวลานี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และควรหายไปอย่างรวดเร็ว
การมีทัศนคติที่ถูกต้อง
มันไม่มีวิธีแก้ปัญหาที่วิเศษและเหมาะกับเด็กทุกคน! เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน คุณจึงต้องหาวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับลูกของคุณ แต่มีสิ่งที่แน่นอนอย่างหนึ่งคือลูกต้องการคุณ จึงไม่แนะนำให้ปล่อยให้ลูกร้องไห้เพราะคิดว่าเขาจะหยุดเองเมื่อเขาร้องไห้พอแล้ว ลูกของคุณจำเป็นต้องทำแบบนี้เพื่อให้เขาสามารถปรับตัวได้ ดังนั้น คุณต้องไม่พยายามทำให้เขาหยุดร้อง ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม วิธีแก้ปัญหาอย่างหนึ่งคือการอุ้มลูกไว้ในอ้อมแขน และพูดกับลูกเบาๆ และด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน เด็กบางคนชอบให้พาเดินไปรอบๆ บางคนชอบอยู่ในเป้อุ้มเด็กที่โยกไปมา บางคนชอบให้อาบน้ำ หรือบางคนก็ชอบให้นวด ให้ลองทำสิ่งเหล่านี้สัก 2-3 นาที แล้วค่อยวางลูกของคุณลงบนเตียง ถ้าเขายังไม่ค่อยอยากจะนอนมันก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะเด็กมักจะกระสับกระส่ายในช่วงหัวค่ำ แต่ไม่นานเขาก็จะหลับ
มันรู้สึกดีมากที่ได้อุ้มลูกไว้ในในอ้อมแขนจนเขาหลับไป แต่หลังจากผ่านไป 2-3 สัปดาห์ คุณควรให้ลูกนอนบนที่นอนในห้องของเขาในขณะที่เขายังคงตื่นอยู่ เพื่อให้เขานอนหลับได้เอง โดยเขาอาจปลอบตัวเองให้รู้สึกสบายด้วยการดูดนิ้วหัวแม่มือ หรือกอดของเล่นชิ้นโปรดของเขา พยายามใจเย็นในช่วงเวลานี้เพราะลูกอาจรับรู้ว่าคุณเครียด แล้วทำให้เขารู้สึกไม่สบายใจมากขึ้น คุณยังต้องอดทนด้วย เพราะเด็กบางคนต้องการเวลาเพื่อปรับตัวเข้ากับกิจวัตรประจำวันแบบใหม่นานกว่าเด็กคนอื่น โดยอาจใช้เวลาตั้งแต่ไม่กี่สัปดาห์จนถึงหลายเดือน!
From Nestlé global toolkit