MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: รวมเทคนิคการเล่นเสริมพัฒนาการลูก ช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย

Add this post to favorites

รวมเทคนิคการเล่นเสริมพัฒนาการลูก ช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย

เด็กทุกคนรักการเล่นสนุก การได้หยอกล้อ และวิ่งเล่นไปรอบๆ โดยไม่รู้สึกเหนื่อยเลยสักนิด คุณแม่จะช่วยลูกน้อยปลดปล่อยพลังอันล้นหลามนี้ได้อย่างไร

1นาที อ่าน

ลูกน้อยของคุณแม่พร้อมจะปลดปล่อยพลังอันล้มหลามตลอดวันตั้งแต่เช้ามืดจนถึงค่ำ เด็กในวัยนี้ชอบค้นหาสิ่งใหม่ๆ ทำให้สิ่งที่คุณแม่ควรให้ความใส่ใจเพิ่มขึ้นคือ การป้องกันการบาดเจ็บจากอันตรายต่างๆ คุณแม่อาจรู้สึกกังวลกับความอยากรู้อยากเห็นของลูกน้อยที่เพิ่มขึ้น แต่การที่ได้เห็นลูกน้อยเล่นสนุกก็ทำให้คุณแม่ยิ้มได้ อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการพัฒนาการทางด้านการเคลื่อนไหวของลูกน้อยอีกด้วย คุณแม่จะมีวิธีการเล่นกับลูกน้อยได้อย่างไรบ้าง

 

ทำไมการเล่นจึงเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกายและจิตใจของลูกน้อย

 

การเล่นที่แตกต่างสำหรับเด็กแต่ละวัย

 

เด็กๆ ชอบเล่นตั้งแต่ตอนยังเป็นทารก และมักมีความสนใจในสิ่งใหม่ๆเสมอ สังเกตได้จากเสียงหัวเราะของลูกน้อยเวลาคุณแม่เล่นจ๊ะเอ๋ ที่สามารถทำให้ลูกน้อยหัวเราะได้เป็นชั่วโมงในช่วงอายุ 3 เดือน และเมื่ออายุ 7 หรือ 8 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มหยิบจับและขว้างสิ่งของ หรือจับโยนของเล่นที่ชอบลงบนพื้นครั้งแแล้วครั้งเล่า ซึ่งลูกจะรู้สึกตลกและสนุกทุกครั้งเมื่อเห็นคุณแม่ก้มเก็บของให้ อีกทั้งยังชอบเล่นขี่ม้าบนขาของคุณพ่อคุณแม่ หรือปัดแท่งตัวต่อที่ต่อไว้สูงๆ ให้ล้มลง

อายุ 9-10 เดือน ลูกน้อยมักจะล้มตัวลงคลาน เป็นสัญญาณของการเริ่มการออกสำรวจพื้นที่รอบๆ เมื่อลูกน้อยเห็นสิ่งที่เขาชอบก็จะพุ่งตัวไปยังสิ่งที่เขาเห็นได้ทันที และสามารถเกาะเฟอร์นิเจอร์เพื่อดึงตัวเองสู่ท่ายืนได้

เมื่อเริ่มเดินได้ ลูกน้อยจะรีบก้าวเดินเพื่อไปสำรวจสิ่งใหม่ๆ และไม่มีอะไรที่จะสามารถหยุดเขาได้ ในแต่ละวันลูกน้อยจะมีพัฒนาการใหม่ๆ เช่น การเดินถอยหลัง กระโดดขึ้นลงบันได พัฒนาการกล้ามเนื้อช่วยส่งเสริมความสามารถทางร่างกาย เช่น การทรงตัว ความว่องไว ความแข็งแรง พร้อมทั้งความสามารถในการรับรู้สิ่งต่างๆ และความมั่นใจในตัวเอง

 

ทำไมการเล่นจึงเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกายและจิตใจของลูกน้อย

 

ใช้เวลาเล่นกับลูก

 

เมื่ออายุ 6 เดือน ช่วงความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งของลูกน้อยจะมีเพียง 2-3 นาทีเท่านั้น ลูกน้อยชอบเล่นหุ่นมือหรือเล่นจ๊ะเอ๋ แต่คุณแม่ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเล่นกับลูกนานเป็นชั่วโมง เพราะอาจทำให้ลูกเหนื่อยเกินไป

เมื่ออายุประมาณ 2 ปี ช่วงความสนใจของลูกน้อยจะยาวขึ้น เมื่อคุณแม่ไม่ได้เล่นแต่กิจกรรมเดิมซ้ำๆ คุณแม่อาจลองนึกถึงเกมที่เล่นง่ายๆ แต่ดึงความสนใจลูกน้อยได้นานๆ และอย่าลืมให้ลูกน้อยพักเป็นระยะเพื่อหลีกเลี่ยงความตื่นเต้นที่มากเกินไป

ในช่วงนี้เด็กๆ จะชอบการเล่นที่มีการค้นหา กิจกรรมที่ให้ความสนุก คือการเคาะบล็อกตัวต่อด้วยช้อน หรือการเล่นปิคนิก ขายของด้วยกาละมังพลาสติกที่หาได้จากในครัว คุณแม่อาจลองหาของเล่นที่ดูเสมือนจริงให้ลูกน้อยเล่น

การพัฒนาความว่องไว ความคล่องตัวของลูกน้อย สามารถทำได้โดยการการสร้างเครื่องกีดขวางโดยใช้หมอน ของเล่น กล่องกระดาษ เพื่อให้ลูกน้อยได้ปีนข้าม หรือคลานลอดผ่านไปได้ ส่วนการเล่นลูกบอล ว่ายน้ำ เล่นซ่อนแอบ และการถีบจักรยานจะช่วยพัฒนาความสามารถของร่างกายให้ลูกน้อย

 

ทำไมการเล่นจึงเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกายและจิตใจของลูกน้อย

 

การออกกำลังกายสำหรับลูกน้อย

 

เมื่ออายุได้ 2-3 ปี (หรืออาจจะ 1 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของกิจกรรม) ลูกน้อยสามารถเริ่มออกกำลังกายแบบเด็กๆ ได้ การออกกำลังกายจะช่วยปลดปล่อยพลังงานให้ลูกน้อยได้ และจะดีมากหากบริเวณใกล้บ้านมีสนามหรือสถานที่ให้ลูกน้อยได้ออกกำลังกาย

กิจกรรมที่ลูกน้อยเล่นไม่ควรมีความรุนแรงหรือมีกฏการเล่นที่เข้มงวดนัก แต่ควรช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายในการเล่นเกม และทำกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัย

จุดประสงค์ของการทำกิจกรรมหรือเล่นเกมต่างๆการเล่นเกมของลูกน้อยไม่ใช่เพื่อชัยชนะ แต่ต้องช่วยส่งเสริมทักษะและความแม่นยำในการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ความสมดุล การเชื่อมโยงการทำงานของส่วนต่างๆ การตอบสนองของร่างกาย รวมทั้งสร้างความมั่นใจในตัวเอง การเคารพผู้อื่น การทำงานเป็นทีม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตอนาคตของพวกเขา