MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: 5 วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้ลูกน้อยพร้อมเรียนรู้

Add this post to favorites

5 วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้ลูกน้อยพร้อมเรียนรู้

สุขภาพที่ดีเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ มาดูวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย เพื่อให้ลูกแข็งแรง พร้อมเรียนรู้เพื่อสร้างพัฒนาการที่ดี

1นาที อ่าน

ตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์

สุขภาพที่ดีเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ มาดูวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย เพื่อให้ลูกแข็งแรง พร้อมเรียนรู้เพื่อสร้างพัฒนาการที่ดี คงไม่มีคุณพ่อคุณแม่ท่านใดอยากให้ลูกป่วยจริงไหม? ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงสรรหาสารพัดวิธีปกป้องลูกจากเชื้อโรคที่เด็กต้องเผชิญในทุกวัน แต่รู้ไหมว่า ถ้าลูกมีภูมิคุ้มกันที่ดี เปรียบเสมือนมีเกราะปกป้องร่างกาย ป้องกันเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ได้ ย่อมทำให้คุณพ่อคุณแม่คลายความกังวลว่า ลูกน้อยจะไม่ป่วยง่าย แม้อยู่ท่ามกลางความเสี่ยง เช่น โรงเรียน สนามเด็กเล่น ที่สาธารณะ เป็นต้น ซึ่งการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกนั้นจะต้องเริ่มที่ตรงไหน และมีเคล็ดลับอะไรบ้าง มาอ่านกันเลย


เล่นเสริมพัฒนาการ

‘ลำไส้’ ระบบภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุดที่หนึ่งในร่างกาย

อาหารที่ลูกน้อยกินต้องเป็นอาหารที่ดี มีประโยชน์ อาหารบางชนิดที่มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น LPR ที่สามารถพบได้ในนมแม่  โยเกิร์ต นมเปรี้ยวและนมบางชนิด จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน เพราะอาหารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในลำไส้เกิดสมดุลและกำจัดจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  

5 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้ลูก

1. ให้ลูกกินนมแม่ นมแม่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กได้ดี เพราะในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด รวมถึงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เช่น LPR ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น การให้ทารกกินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด นอกจากเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันแล้ว ยังมีผลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และสุขภาพของลูก 

2. ให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์  ตามที่กล่าวไว้ตอนต้นว่าลำไส้คือ ระบบภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุดระบบหนึ่งในร่างกาย และระบบทางเดินอาหารเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ดังนั้น แม่ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวถึงอย่างน้อย 6 เดือน ควบคู่กับอาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสม ครบ 5 หมู่  เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยคุณแม่สามารถเสริมด้วยอาหารที่มีจุลินทรีย์ทีมีประโยชน์ เช่น LPR โดย LPR มีคุณสมบัติเด่นเรื่องการช่วยกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกัน อีกทั้งเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายก็จะตอบสนองด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาทำลายเชื้อโรคเหล่านั้น  

คุณแม่พาลูกออกกำลังกาย

3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แม้การเล่นนอกบ้านอาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค แต่การให้ลูกเดิน วิ่ง ถือเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และทำให้ร่างกายแข็งแรงเช่นกัน ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถชวนลูกออกไปเล่น ทำกิจกรรมง่าย ๆ ตามวัย และยังทำให้ลูกน้อยได้ฝึกใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ อีกด้วย อาทิ 
• การเล่นทราย  นอกจากจะช่วยเสริมสร้างจินตนาการของลูกน้อยแล้ว ยังเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของลูกด้วย ได้ออกแรงทั้งแขน ขา และลำตัว รวมทั้งช่วยให้มือและสายตาทำงานประสานกัน ได้เรียนรู้การแยกแยะรูปทรง และพัฒนาระบบประสาทไปในตัว 
• การว่ายน้ำ  เป็นการออกกำลังกายที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อแทบทุกส่วน และยังช่วยเรื่องการทำงานของปอดและหัวใจ นอนหลับได้สนิท และช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ในขณะที่ลูกว่ายน้ำ ลูกก็จะได้ฝึกทักษะหลายด้านไปพร้อมกัน เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายใยประสาทในสมองให้ทำงานประสานกันได้ดีขึ้น 
• ปล่อยให้เล่นเลอะเทอะบ้าง  การที่คุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกได้ออกไปสนุกกับการเรียนรู้โลกกว้างกับเพื่อนๆ จนเลอะเทอะเปรอะเปื้อนนับเป็นเรื่องปกติ ควรปล่อยให้เขาได้เล่นสนุกสนาน เพราะการที่ร่างกายของเขาได้สัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ นอกบ้าน เช่น สนามหญ้า ดิน ทราย ต้นไม้ ของเล่นในสวนสาธารณะ เป็นการเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิตให้กับลูกน้อยได้กล้าที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ส่งเสริมจินตนาการกว้างไกล เป็นเด็กที่มีความฉลาดทางอารมณ์ และมีพัฒนาการที่สมวัย หากเราสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกมาดีอย่างสม่ำเสมอ การเล่นแบบนี้ก็ไม่น่ากังวลใจเท่าไหร่

4. ให้ลูกฉีดวัคซีนเด็กป้องกันโรค การได้รับวัคซีนเปรียบเสมือนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอีกทางหนึ่ง และเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย ซึ่งควรพาลูกไปรับวัคซีนตามวัยจะช่วยลดโอกาสการเจ็บป่วยและหลีกเลี่ยงความรุนแรงของโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากลูกอดนอนจะทำให้มีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ส่งผลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโต เด็กเล็กวัย 1-2 ปี ควรนอนวันละ 11-14 ชั่วโมง ขณะที่เด็กอายุ 3-6 ปี ควรนอนหลับพักผ่อนวันละ 10-13 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ หลั่งฮอร์โมนและสารเคมีต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

การปล่อยให้ลูกเล่นและทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากเจ้าตัวน้อยจะได้ความสนุก รู้จักเข้าสังคมแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ฝึกจินตนาการ พัฒนากล้ามเนื้อ และระบบประสาท แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างดีแล้ว อาหารการกินของลูกก็เป็นเรื่องสำคัญในการเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพดี สมองดี มีพัฒนาการที่ดี สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ไว คุณแม่จึงต้องเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยได้ด้วยการดูแลโภชนาการให้เหมาะสมตามช่วงวัย ให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพียงเท่านี้เขาก็จะเป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย พร้อมเรียนรู้ทุกประสบการณ์ในอนาคต 

#LPR #จุลินทรีย์สายสตรอง #พัฒนาการที่แข็งแกร่งและเก่งสมวัย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.rakluke.com