สัญญาณความหิว
• ลูกยังคงแสดงอาการหงุดหงิด หรือร้องไห้เมื่อหิวนม หรือเวลาที่อยากกินอาหารที่ต้องการ
• เริ่มเอื้อมมือเข้ามาเพื่อจับช้อนที่มีอาหารอยู่
• อ้าปากกว้าง และเอนตัวเข้าหาจาน หรือช้อน
• หากลูกยังไม่อิ่ม เขาจะใช้สายตามองมาที่คุณแม่ เพื่อแสดงให้คุณรู้ว่า “หนูยังไม่อิ่ม”
เคล็ดลับสำคัญ
อย่าบังคับให้ลูกกินอาหารมากๆ เกินปริมาณที่ลูกต้องการ คุณแม่ควรเชื่อภาษากายของลูก หากเขาแสดงออกว่าอิ่มแล้วจริงๆ
ลูกน้อยมักแสดงอาการให้รู้ว่าเขาอิ่ม
ไม่ว่าจะเป็นนมแม่ นมขวด หรือการป้อนด้วยช้อน ลูกน้อยจะแสดงอาการให้รู้อย่างชัดเจนเมื่อเขาอิ่ม
สัญญาณความอิ่ม
• หากเป็นการดูดนมจากขวดนมหรือนมแม่ ลูกจะเบือนหน้าหนีออกจากเต้านมหรือขวดนม
• เบนตัวหนีออกจากอาหาร และอาจผลักช้อนออกจากตัว
• เม้มปากปิดสนิท และไม่ยอมให้คุณแม่ป้อนต่อ
• อาจคายอาหาร ซึ่งปกติชอบกินออกมา
• ผลักจานอาหาร หรืออาหารที่อยู่ตรงหน้า
• เคี้ยวช้าลง และเปลี่ยนความสนใจไปที่สิ่งอื่น
• รู้สึกง่วงนอน ขณะที่กินอาหารอยู่
วัย 8-12 เดือน
ลูกเริ่มรู้เวลาอาหารแล้ว
คุณแม่ควรเรียนรู้สังเกตอาการเมื่อลูกหิวและอิ่มให้มากขึ้น เพราะช่วงวัยนี้กระเพาะของเขายังเล็กอยู่ อาจจะทานได้น้อย แต่จะกินบ่อยกว่าที่คุณคิด คุณแม่จึงควรเรียนรู้สัญญาณความหิวและความอิ่มของลูก
สัญญาณความหิว
• เริ่มเตะขา และเคาะถาดใส่อาหาร เพื่อเป็นการบอกว่า "แม่จ๋า เอาอาหารมาเร็วๆ หน่อย"
• อมนิ้ว และแสดงอาการหงุดหงิด เพื่อเป็นการบอกว่า “กำลังหิวอยู่”
• จ้องมองขณะที่คุณแม่กำลังเตรียมอาหาร และแสดงความตื่นเต้นเมื่อคุณถืออาหารออกมา
• เอื้อมมือคว้าอาหาร เพื่อเป็นการบอกว่า "ได้เวลาหม่ำแล้ว"
• พุ่งความสนใจมาที่คุณขณะที่กินอาหาร และรอคอยคำต่อไปอย่างตั้งใจ
เคล็ดลับสำคัญ
เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะจัดเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ และเป็นหน้าที่ของลูกที่จะตัดสินใจกินอะไรและมากน้อยแค่ไหน
ลูกน้อยมักแสดงอาการให้รู้ว่าเขาอิ่ม
สัญญาณความอิ่ม
• เบือนหน้าหนี หรือเอนตัวออกห่างจากช้อน
• ปิดปากสนิท และส่ายหน้า เพื่อเป็นการบอกว่า “อิ่มแล้ว”
• ผลักจานอาหารออกจากตัว และพยายามปัดช้อนออกจากมือของคุณ
• ไม่แสดงความสนใจที่จะกินอีกต่อไป และมองไปทางอื่น