สัญญาณความพร้อมและคำแนะนำการให้อาหารสำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป
รู้หรือไม่?
การทำงานประสานกันของอวัยวะต่างๆ ที่ดีขึ้นและความรู้สึกที่สามารถทำอะไรได้เอง จะช่วยให้ลูกน้อยมั่นใจ
สัญญาณความพร้อม หยิบจับอาหารด้วยนิ้วมือได้คล่องเริ่มใช้ช้อนตักอาหารกินเอง สามารถหมุนช้อนให้เข้าใกล้ปากได้ เริ่มเคี้ยวโดยใช้ขากรรไกรบดอาหารได้ดีขึ้น จับถ้วยขึ้นดื่มและวางลงเองได้ |
คำแนะนำการให้อาหาร ให้อาหารที่มีเนื้อสัมผัสที่หลากหลายเพื่อให้ลูกได้ฝึกเคี้ยวและกลืนเพื่อพัฒนาทักษะด้านการกินอาหารให้อาหารสำหรับเด็กวัยเตาะแตะที่มีความหลากหลาย เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้รสชาติใหม่ๆ ให้อาหารที่มีความหลากหลายทั้งชนิดของอาหารและเมนูอาหาร จำกัดการเติมเกลือและน้ำตาล ให้อาหารที่อ่อนนุ่ม โดยตัดหรือหั่นให้เป็นแท่งหรือเป็นชิ้น ที่ลูกสามารถใช้มือถือกินได้เพื่อช่วยฝึกการกัด อาหารควรมีขนาดเหมาะสม และต้องแน่ใจว่าอาหารนั้นสามารถใช้เหงือกบดได้อย่างง่ายดาย ใช้ถ้วยสำหรับใส่น้ำหรือของเหลวอื่นๆ ที่เหมาะกับช่วงวัยของลูก |
พัฒนาการด้านการกินของลูกน้อยวัย 12-18 เดือน
• ลูกน้อยพยายามหัดใช้ช้อนส้อมในแบบต่างๆ เช่น ใช้ช้อนจุ่มลงไปในอาหาร และใช้ส้อมตักอาหาร
• ฟันกรามซี่แรกขึ้นแล้ว และลูกก็พร้อมสำหรับการฝึกเคี้ยวมากขึ้น
• สามารถถือถ้วยหัดดื่มด้วยสองมือ แล้วเอียงไปข้างหน้า ข้างหลัง เพราะข้อมือของลูกหมุนได้คล่องขึ้น
• ตื่นเต้นที่จะนั่งกินอาหารที่โต๊ะ ดังนั้นเวลากินอาหารพร้อมกับครอบครัวจึงมีความสำคัญเทียบเท่ากับอาหารที่กิน
พัฒนาการด้านการกินของลูกน้อยวัย 19-24 เดือน
• ไม่สามารถคาดเดาพฤติกรรมการกินของลูกได้ หมายความว่าลูกอาจกินอาหารได้มากในวันนี้ แต่ในวันพรุ่งนี้ลูกอาจไม่สนใจกินเลยก็ได้
• ลูกอาจลังเลที่จะกินอาหารชนิดใหม่ๆ ดังนั้นจึงอาจต้องให้ลูกลองกินหลายครั้งก่อนที่เขาจะยอมกิน อย่าบังคับให้ลูกกินอาหารให้หมดชาม แต่ให้เชื่อในสัญญาณความหิวและความอิ่มของเขา
• ลูกอาจจะเคี้ยวอาหารแบบเปิดปากกว้างกว่าที่จำเป็น และทำให้อาหารและน้ำลายกระเด็นออกมาจากปาก ซึ่งเป็นเรื่องปกติของวัยนี้
• ลูกจะชอบความคุ้นเคยในเวลารับประทานอาหาร – ดังนั้น การใส่ผ้ากันเปื้อนตัวเดิม ใช้ชามและช้อนส้อมเดิม จะช่วยให้ลูกสบายใจ
ลูกน้อยมีส่วนสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาก จึงไม่จำเป็นต้องใช้เก้าอี้สูงหรือเก้าอี้หัดกินอาหารอีกต่อไป เพราะลูกสามารถนั่งเองหรือเสริมเบาะที่เก้าอี้ เพื่อร่วมโต๊ะอาหารกับครอบครัวได้