MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: ปกป้องร่างกายของลูกด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

Add this post to favorites

ปกป้องร่างกายของลูกด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกคือ การกระตุ้นกลไกลการปกป้องร่างกายตามธรรมชาติ สุขภาพลำไส้ที่ดีจะนำไปสู่การปกป้องร่างกายให้แข็งแรง แล้วคุณแม่จะมีตัวช่วยอะไรบ้าง

1นาที อ่าน

เมื่อเรานึกถึงระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของลูกน้อย เรามักนึกถึงภาพเซลล์เม็ดเลือดขาว และแอนตี้บอดี้ที่เคลื่อนที่เหมือนหน่วยทหารที่พร้อมต่อสู้กับเชื้อโรคในร่างกาย ทั้งที่จริง ๆ แล้วการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเกิดจากสุขภาพลำไส้ที่ดี ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับการดูแลสุขภาพลำไส้กันดีกว่า

 

ปกป้องร่างกายของลูกด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

 

สุขภาพลำไส้ที่ดีสู่การปกป้องแข็งแรง

 

เมื่อเรานึกถึงระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของลูกน้อย เรามักนึกถึงภาพเซลล์เม็ดเลือดขาว และแอนตี้บอดี้ที่เคลื่อนที่เหมือนหน่วยทหารที่พร้อมต่อสู้กับเชื้อโรคในร่างกาย แต่คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า ร่างกายของลูกน้อยยังมีกลไกป้องกันเชื้อโรคในส่วนอื่นๆ อีกด้วย

 

การปกป้องลำไส้จากเหล่าเชื้อโรค

 

ในลำไส้ของลูกน้อยมีแบคทีเรียอยู่มากกว่า 500 ชนิด เราเรียกแบคทีเรียเหล่านี้ว่า “จุลินทรีย์ในลำไส้” ซึ่งในบรรดาแบคทีเรียเหล่านั้น มีจุลินทรีย์ที่ชื่อว่า “บิฟิโดแบคทีเรีย” และ “แลคโตบาซิลไล” ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ตัวดี (หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า “โพรไบโอติกส์”) ที่ช่วยปกป้องลูกน้อยจากเชื้อโรคต่างๆ แบคทีเรียที่มีประโยชน์เหล่านี้ช่วยดูแลลูกน้อยด้วยกลไกตามธรรมชาตินั่นคือ

● สร้างแอนติเจนที่ช่วยกระตุ้นการทำงาน และช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยให้ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ (โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับลูกน้อย)
● ช่วยดูแลสุขภาพระบบทางเดินอาหารของลูกน้อย ซึ่งช่วยให้ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมสารอาหารต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
● ป้องกันการบุกรุกและการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่าจำนวนแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ของลูกน้อย อาจลดลงในช่วงวัยอาหารเสริมหรือช่วงที่ลดปริมาณการกินนมแม่ ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องกังวลกับปัญหาเหล่านี้ เพราะคุณแม่สามารถช่วยรักษาปริมาณของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่มีประโยชน์ได้ และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ด้วยตัวเอง

 

ปกป้องร่างกายของลูกด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

 

“โพรไบโอติกส์” เพื่อสุขภาพลำไส้ที่แข็งแรง

 

โพรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์มีประโยชน์ที่ยังมีชีวิต ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอจะช่วยรักษาปริมาณและเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้ที่มีประโยชน์ให้เหมาะสมได้ การให้ลูกน้อยกินอาหารเสริมโพรไบโอติกส์จึงเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายและให้การปกป้องลูกน้อยจากเชื้อโรคต่างๆ

 

เมื่อลูกน้อยติดเชื้อในลำไส้

 

อาการอาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง และมีไข้ เป็นสัญญาณว่าลูกน้อยอาจติดเชื้อในลำไส้หรือมีภาวะกระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อโรคชนิดอื่นๆ อาการเหล่านี้เป็นอาการป่วยโดยทั่วไปที่มักพบได้ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เด็กส่วนใหญ่อาจป่วยมากกว่าปีละ 1 ครั้ง และสามารถหายได้ภายในเวลาไม่กี่วัน

 

ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยติดเชื้อในลำไส้

 

นอกจากคำแนะนำของแพทย์ คุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ลูกน้อยหายป่วยและป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่สมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ ได้

● สิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรทำขณะดูแลลูกน้อยที่เจ็บป่วยคือ การให้ลูกดื่มน้ำมากๆ เพราะร่างกายของลูกสูญเสียน้ำปริมาณมากจากการอาเจียนหรือท้องเสีย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับน้ำทดแทน ดังนั้นคุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกน้อยดื่มน้ำเพิ่มขึ้นในช่วงนี้
● คุณแม่ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม และก่อนรับประทานอาหาร
● ทำความสะอาดห้องน้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นประจำ ทำความสะอาดปุ่มกดน้ำชักโครก ที่นั่งรองชักโครก ก๊อกน้ำ พื้นห้องน้ำ และลูกบิดหรือมือจับประตูทุกวันด้วยน้ำร้อนและน้ำยาทำความสะอาด
● หากลูกน้อยยังใช้กระโถนในการขับถ่าย คุณแม่ควรสวมถุงมือเมื่อต้องสัมผัสกับกระโถนหรือเทของเสียลงชักโครก จากนั้นล้างกระโถนด้วยน้ำร้อนและน้ำยาทำความสะอาด แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
● ให้ลูกน้อยล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง รวมทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร
● หากเสื้อผ้าหรือที่นอนเปื้อน สิ่งแรกที่ควรทำคือการกำจัดของเสียลงในชักโครก จากนั้นซักผ้าที่เปื้อนแยกกับเสื้อผ้าปกติโดยใช้น้ำร้อนมากๆ
● ไม่ควรให้ลูกใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัว

 

ปกป้องร่างกายของลูกด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

 

วิธีลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในลำไส้ให้ลูกน้อย

 

สุขอนามัยที่ดีเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องลูกน้อยให้แข็งแรงอยู่เสมอ คุณแม่ต้องแน่ใจว่า อาหารที่ลูกน้อยรับประทานมีการจัดเก็บ การเตรียม และปรุงสุกอย่างทั่วถึง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆ ควรสอนให้ลูกล้างมือทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ รวมทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร หลังจากเล่นสนุกนอกบ้าน และเล่นกับสัตว์เลี้ยงต่างๆ การช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เพิ่มโอกาสให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อได้อย่างเต็มที่ และคุณแม่สามารถทำได้ด้วยการให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั่นเอง

 

ระบบภูมิคุ้มกันของลูกแข็งแรงแค่ไหน?

 

เพราะรอบตัวลูกน้อยล้อมรอบด้วยเชื้อโรคต่างๆ ตลอดเวลา สิ่งที่จะกำหนดว่าลูกจะป่วยโดยเชื้อโรคหรือไม่คือ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ถ้าลูกป่วยบ่อยอาจบ่งบอกว่าระบบภูมิคุ้มกันของเขาอ่อนแอ และไม่ได้เป็นเรื่องเล็กๆ เพราะมันอาจทำให้พัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกช้าลงได้ ดังนั้นควรดูแลระบบภูมิคุ้มกันของลูกให้แข็งแรงพอที่จะต่อสู้กับเชื้อโรค หากลูกป่วยบ่อยและใช้เวลานานกว่าจะหายเป็นปกติ นี่อาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยกำลังมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ

 

เคล็ดลับเสริมสร้างความแข็งแรงให้ภูมิคุ้มกันของลูกน้อย

 

● สารอาหารที่จำเป็นคือหัวใจสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน ควรให้ลูกได้รับสารอาหารที่จำเป็นจากอาหารต่างๆ เช่น โปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน (โดยเฉพาะวิตามินเอ ซี และ อี) และกรดไขมันที่จำเป็นต่างๆ
● โพรไบโอติกส์มีประโยชน์สำหรับเด็ก และควรได้รับอาหารที่เสริมโพรไบโอติกส์เพื่อช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
● ให้ลูกนอนหลับ พักผ่อนอย่างเพียงพอ
● อย่าลืมเรื่องความสะอาด คุณแม่ต้องดูแลความสะอาดและความปลอดภัยระหว่างการเตรียมอาหารให้ลูกน้อย ใช้น้ำยาทำความสะอาดเพื่อกำจัดเชื้อโรคต่างๆ ในบริเวณบ้าน
● หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น

• ให้ลูกได้รับยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น

• กินอาหารที่มีไขมัน และน้ำตาลสูง

• ดื่มน้ำน้อย หรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด

• ปล่อยลูกอยู่ในบริเวณที่มีควันบุหรี่

• ขาดการออกกำลังกาย

คลิกเพื่ออ่านบทความเพิ่มเติม “รู้จริงเรื่องระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อย”

 

Reference
1 http://www.patient.co.uk/health/Gastroenteritis-in-Children.htm
2 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2839418/
3 lsolauri, E., J. Joensuu, et al. (1995). "Improved immunogenicity of oral D x RRV reassortant rotavirus vaccine by Lactobacillus casei G." Vaccine(13): 310-312.
4 Majamaa, H., E. Isolauri, et al. (1995). "Lactic acid bacteria in the treatment of acute rotavirus gastroenteritis." J Pediatr Gastroenterol Nutr 20(3): 333-338.