MyFeed Personalized Content
พัฒนาการลูก 0-36 เดือน
บทความ

PLAYING: การร้องอาละวาดในเด็กวัยเตาะแตะ

Add this post to favorites

การร้องอาละวาดในเด็กวัยเตาะแตะ

มาเรียนรู้เทคนิคการรับมือลูกงอแง เพราะลูกวัยเตาะแตะมักมีความต้องการรุนแรง เมื่อเขาไม่ได้สิ่งเหล่านั้นจะรู้สึกไม่พอใจและแสดงอาการออกมาอย่างรวดเร็ว

2นาที อ่าน

พฤติกรรมที่เหมือนกันนี้เห็นได้ชัดในเด็กช่วงวัยก่อนที่จะมีพัฒนาการทางร่างกายบางอย่าง เช่น ช่วงก่อนที่จะเริ่มคลานได้ เมื่อเกิดความรู้สึกไม่พอใจ เพราะการอาละวาดนี้จะช่วยให้ลูกได้ในสิ่งที่เขาต้องการ อาการร้องอาละวาดเป็นการแสดงออกทางกายที่เกิดจากความรู้สึกไม่พอใจ เมื่อสิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปตามที่ลูกอยากให้เป็น พฤติกรรมร้องอาละวาดที่เด็กจะแสดงออกมาได้แก่

 

การร้องอาละวาดในเด็กวัยเตาะแตะ

 

• กระทืบเท้า
• กรีดร้อง ตะโกน
• เตะ
• ร้องเสียงสูง
• ล้มตัวลงกับพื้น
• เอาหัวโขกพื้นหรือผนัง
• กลั้นหายใจจนสุดแล้วค่อยหายใจออก (อาจดูเหมือนเรื่องตลก แต่อันตรายทีเดียว)
• กัด
• ไม่ยอมกินอาหาร
• กลั้นอุจจาระ
คุณแม่ต้องเข้าใจก่อนว่าอาการร้องอาละวาดเป็นพฤติกรรมปกติที่พบได้ในพัฒนาการของเด็กวัยเตาะแตะ อาการร้องอาละวาดมี 2 ประเภท คือ
การร้องอาละวาดเพื่อชักจูง (manipulative tantrums) และ การร้องอาละวาดจากความหงุดหงิด (frustration tantrums)

 

การร้องอาละวาดในเด็กวัยเตาะแตะ

 

การร้องอาละวาดเพื่อชักจูง (manipulative tantrums) เป็นการร้องอาละวาดที่เกิดจากความต้องการให้ได้สิ่งที่ต้องการ เช่น เพื่อบังคับให้คุณแม่ซื้อของเล่นหรือขนมให้ วิธีการที่ดีที่สุดคือ การเดินหนีจากการร้องอาละวาดแบบนี้ และเเสดงออกอย่างชัดเจนให้ลูกรู้ว่าคุณพร้อมที่จะคุยกับเขา เมื่อเขาสามารถสงบอารมณ์ลงได้

การร้องอาละวาดจากความหงุดหงิด (frustration tantrums) ที่เกิดจากการที่ลูกน้อยไม่สามารถแสดงความเป็นตัวตนได้ตามความรู้สึกของเขา เพราะบางช่วงที่สมองและทักษะการใช้กล้ามเนื้อต่างๆ ของลูกอาจมีพัฒนาการด้านความคิดเร็วกว่าความสามารถในการสื่อสาร การไม่สามารถแสดงความต้องการของตัวเองให้คุณแม่เข้าใจได้ว่าเขาต้องการอะไร นำไปสู่การร้องอาละวาดจากความหงุดหงิด(frustration tantrum) วิธีการที่ดีที่สุดคือ การไม่เพิกเฉยกับอาการร้องอาละวาดประเภทนี้ แต่ต้องพยายามเข้าใจความต้องการของลูก อาการร้องอาละวาดจากความรู้สึกอัดอั้นอาจเพิ่มขึ้นหากลูกน้อยพยามยามทำบางอย่าง แต่ไม่สำเร็จ เช่น ลูกน้อยอาจกำลังพยายามปีนให้สูงมากกว่าความสามารถของตัวเอง คุณแม่อาจเสนอให้ความสนับสนุนหรือความช่วยเหลือในกรณีแบบนี้
ไม่ว่าจะเป็นการร้องอาละวาดประเภทไหน การช่วยให้ลูกเข้าใจและเรียนรู้พฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับและพฤติกรรมที่รับไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญ (แม้แต่ผู้ใหญ่บางคนก็อาจไม่รู้เรื่องนี้เช่นกัน)

ลูกน้อยวัยเตาะแตะมีพลังงานที่ไร้ขีดจำกัดและพยายามท้าทายคนรอบข้างจนกว่าเขาจะได้ในสิ่งที่ต้องการ หากเขาไม่มีทางจะได้สิ่งเหล่านั้น เขาจะหยุดพฤติกรรมดังกล่าว และหันไปหาสิ่งอื่นทดแทน ซึ่งหมายถึงว่า ลูกได้เรียนรู้ขอบเขตของตนเอง แต่ถ้าคุณแม่ให้ในสิ่งที่เขาต้องการในช่วงร้องอาละวาด แม้เพียงครั้งเดียว ลูกน้อยจะมีอาการเหล่านี้ทุกครั้งจนกว่าเขาจะได้ในสิ่งที่ต้องการจากคุณแม่ ดังนั้น คุณแม่ต้องเลือกวิธีการรับมือให้เหมาะสม

อาการร้องอาละวาดเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าลูกน้อยกำลังมีการเรียนรู้ในการเป็นตัวของตัวเองและการพึ่งพาตนเอง การตอบสนองของคุณแม่ต่ออาการร้องอาละวาดจึงมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของลูกน้อยในการควบคุมอารมณ์และการหาทางออกที่ยอมรับได้ ในที่สุดเขาจะรู้จักควบคุมตัวเองได้และมีความเข้มแข็งทางจิตใจมากขึ้น
วิธีจัดการกับอาการร้องอาละวาดในเชิงบวกจะช่วยให้ลูกน้อยผ่านช่วงวัย 3 ปีไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้ลักษณะนิสัยที่มีคุณค่า
สิ่งที่คุณแม่สามารถช่วยให้ลูกผ่านพ้นช่วงวัยที่ท้าทายนี้ได้ ได้แก่

 

การร้องอาละวาดในเด็กวัยเตาะแตะ

 

• กำหนดความคาดหวังที่มีเหตุผลและจำกัดพฤติกรรม มีความหนักแน่นในการรับมือกับลูกน้อย เพราะลูกน้อยวัยเตาะแตะมีการเรียนรู้ความหมายของสิ่งที่คุณแม่พูด เมื่อคุณทำเหมือนเดิมซ้ำๆ แต่เขาจะสับสนเมื่อคุณรับมือเขาด้วยวิธีการที่แตกต่างไปในแต่ละครั้ง ดังนั้น ทั้งคุณพ่อและคุณแม่จึงควรปรึกษากันเพื่อกำหนดขอบเขตวิธีการรับมือกับลูกน้อยให้เหมือนกัน
• ในช่วงที่ออกไปนอกบ้าน คุณแม่ต้องอธิบายให้ลูกน้อยฟังง่ายๆ ว่าเรากำลังจะไปที่ไหน และพฤติกรรมแบบไหนที่คุณต้องการจากลูก ลูกน้อยวัยเตาะแตะชอบที่จะรู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และสิ่งที่ถูกคาดหวังไว้คืออะไร คุณแม่ควรบอกความคาดหวังในเชิงบวก ตัวอย่างเช่น บอกลูกว่า “เดี๋ยวเราเข้าไปในบ้านของเจนแล้ว เราจะเดินกันนะ” แทนที่จะบอกว่า “เราจะไม่วิ่งในบ้านของเจนนะ” การพูดประโยคในเชิงบวกจะช่วยให้สมองสร้างภาพที่ชัดเจนสำหรับลูกน้อย
• การช่วยให้ลูกน้อยรู้ว่า เขาเองก็มีวิธีที่สามารถช่วยให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นได้ เช่น การดูหนังสือที่มีสีสันสดใสต่างๆ จากนั้นให้คุณแม่ร่วมทำสิ่งนั้นกับลูกเพื่อให้เขามีประสบการณ์จริงกับวิธีที่สามารถช่วยให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นได้
• พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะทำให้เกิดการร้องอาละวาด เช่น ไม่ควรใช้เวลาในการเดินซื้อของ ในช่วงที่ลูกหิวหรือเหนื่อย
• เมื่อเกิดการร้องอาละวาด ให้คุณแม่ตอบสนองทันที และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก หรือรอจนกว่าคุณพ่อจะกลับบ้าน ให้อภัยลูกและทำกิจกรรมต่างๆ ตามปกติต่อไป
• ต้องทำให้ลูกน้อยรู้ว่า คุณรับไม่ได้กับพฤติกรรมของเขา อย่าให้เขาเข้าใจว่า ตัวเขาเองไม่เป็นที่ยอมรับ ตัวอย่างเช่น “การที่ลูกกัดเอวาเป็นเรื่องที่ไม่ดีเลย” แทนที่จะพูดว่า “ลูกเป็นเด็กไม่ดีเลย ที่กัดเอวา”
• ออกคำสั่งที่เข้าใจได้ง่ายและตรงประเด็น
• ในบางช่วงที่เหมาะสม ให้เพิกเฉยต่อพฤติกรรมของลูก และพาเขาไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยจนกว่าเขาจะสงบลง แต่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ห้องนอน ซึ่งควรเป็นสถานที่ที่ลูกต้องรู้สึกมีความสุข จึงไม่ควรใช้ในการลงโทษ มิฉะนั้นคุณแม่จะมีปัญหาในการพาลูกเข้านอนตอนกลางคืน
• วิธีการขอเวลานอกหรือการทำ time out สามารถใช้ได้ดีกับเด็กวัย 2 ½ ปี สำหรับเด็กวัยเตาะแตะที่อายุน้อยกว่านี้ (12 เดือน - 36 เดือน) การแยกลูกออกจากสถานการณ์ หรือสิ่งกระตุ้น เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ การพาลูกออกจากบริเวณที่เกิดปัญหาเป็นวิธีที่เหมาะสม
• คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับช่วงพัฒนาการวัยนี้ และจำไว้ว่าคุณกำลังสอนให้ลูกน้อยรู้จักควบคุมตนเอง รู้จักผลของการกระทำ และพฤติกรรมทางเลือกที่เป็นที่ยอมรับ
• คุณแม่ควรสอนลูกด้วยความหนักแน่น ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ตัวอย่างเช่น เมื่ออยู่ที่บ้าน คุณหัวเราะให้กับพฤติกรรมหนึ่ง แต่คุณกลับโกรธเมื่อลูกทำพฤติกรรมเดียวกันในเมื่อออกไปนอกบ้าน การแสดงออกที่แตกต่างกันนี้จะทำให้ลูกน้อยสับสน
• ชมเชยหรือให้รางวัลเมื่อลูกน้อยมีพฤติกรรมที่เหมาะสม แทนที่จะใส่ใจกับสิ่งที่ลูกทำผิดพลาด
• ใช้น้ำเสียงที่อ่อนโยนและเป็นมิตร เมื่อคุณชมเชยพฤติกรรมของลูก น้ำเสียงในการพูดนั้นสำคัญพอๆกับสิ่งที่คุณพูด

 

เทคนิคการรับมืออาการร้องอาละวาดในที่สาธารณะ

 

การร้องอาละวาดในเด็กวัยเตาะแตะ

 

• ลูกน้อยวัยเตาะแตะอาจรู้สึกกังวลกับสิ่งใหม่ๆ รอบตัว หากลูกแสดงอาการร้องอาละวาดในที่สาธารณะ เช่น ในห้าง และสร้างสถานการณ์ที่ลำบากให้คุณแม่ อาจเป็นไปได้ว่าเขาไม่ชอบออกมาข้างนอก มาเจอสถานที่และผู้คนที่ไม่คุ้นเคย
• คุณแม่ต้องทำให้ลูกรู้ว่าคุณแม่ยังคงอยู่ใกล้ๆ เขาตลอดเวลา อย่าเพิกเฉยกับความรู้สึกลูก กอดลูกหรืออุ้มเขาอย่างทะนุถนอม แล้วเดินไปด้วยกัน ซึ่งสามารถช่วยให้ลูกรู้สึกสงบลง จากนั้นคุณแม่จึงค่อยทำภารกิจของคุณแม่ต่อไป
• พกน้ำและอาหารเมื่อออกไปข้างนอก สำหรับให้ลูกน้อยรับประทาน เมื่อลูกหิว หรือเหนื่อย
• พาลูกออกมาจากแหล่งหรือสถานที่ที่มีคนมากๆ หากลูกน้อยยังไม่สงบลง คุณแม่อาจต้องหาสถานที่เงียบๆ เช่น ในห้องน้ำ ในรถ และปล่อยให้ลูกสงบลง
• คุณแม่ต้องทำให้ลูกมั่นใจว่า คุณจะอยู่ข้างๆ เมื่อเขารู้สึกกลัว
• นำของเล่นที่ลูกชอบไปด้วย
• หากลูกน้อยมีอาการร้องอาละวาดวันละหลายๆ ครั้ง และมักใช้เวลานานกว่าจะสงบลงได้ คุณแม่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำ เพราะเขาอาจมีคำอธิบายที่คุณอาจไม่เคยนึกถึงมาก่อน