MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ ดูแลครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่
บทความ

PLAYING: ความสําคัญของแคลเซียมและวิตามินสําหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

Add this post to favorites

ความสําคัญของแคลเซียมและวิตามินสําหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

คำแนะนำสำหรับคุณแม่เกี่ยวกับสารอาหาร การได้รับแคลเซียมที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย รวมถึงอาหารที่เป็นแหล่งสารอาหารสำคัญของแคลเซียม และเคล็ดลับในการรับวิตามินดีอย่างสมดุล

1นาที อ่าน

เมื่อตั้งครรภ์แล้ว การได้รับโภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเติบโตและพัฒนาการที่สมบูรณ์ของลูกในท้อง คุณแม่จึงต้องใส่ใจเลือกสรรอาหารบำรุงครรภ์ที่มีสารอาหารครบถ้วนและจำเป็นต่อเจ้าตัวน้อย เพื่อที่จะได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นอย่างเต็มที่ ซึ่งแคลเซียมและวิตามินดีสำหรับคุณแม่ ถือเป็นแร่ธาตุสำคัญต่อโครงสร้างกระดูกของร่างกายของคุณแม่และทารก ที่สำคัญคุณแม่ควรได้รับแคลเซียมควบคู่กับวิตามินดีที่จะช่วยให้กระดูกสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น โดยแหล่งแคลเซียมและวิตามินดีสำหรับคนท้อง คุณแม่สามารถหาบริโภคได้จากการรับประทานอาหารที่หลากหลาย และสมดุล ซึ่งแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุด จะมาจากนมและผลิตภัณฑ์จากนม

Healthy nutrition and pregnancy

แคลเซียมและวิตามินดีสำหรับคุณแม่ดีอย่างไร?

แคลเซียมสำหรับคนท้อง มีบทบาทสำคัญมาก เพราะช่วยลดภาวะครรภ์เป็นพิษในระหว่างที่คุณแม่อุ้มท้องลูกน้อย และยังมีส่วนช่วยรักษามวลกระดูกของคุณแม่ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูก และสำหรับลูกน้อยนั้น แคลเซียมมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกระดูก โครงสร้างร่างกาย และฟันให้กับทารก ร่างกายของทารกจะมีความต้องการแคลเซียมเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ฉะนั้นคุณแม่ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ และมีแคลเซียมสำรองไว้ในร่างกาย เพราะแคลเซียมสำรองของคุณแม่จะถูกนำไปใช้ให้เพียงพอกับความต้องการของลูกน้อยก่อน และอาจจะถูกดึงไปใช้จนหมด หากคุณแม่มีแคลเซียมไม่มากพอ ร่างกายจะนำเอาแคลเซียมในกระดูกของแม่มาแทน ทำให้ปริมาณแคลเซียมในกระดูกของแม่ลดลงและเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน หรือภาวะกระดูกเปราะและแตกหักง่ายได้ นอกจากนี้แคลเซียมมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการประสบกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ด้วย


วิตามินดีสำหรับคนท้อง มีความสำคัญต่อการซ่อมแซม และเสริมสร้างการทำงานของสมดุลแคลเซียมระหว่างกระดูก และพัฒนาการของโครงสร้างร่างกาย กระดูก และฟันของเจ้าตัวน้อย รวมไปถึงช่วยในการดูดซึมแคลเซียมของคุณแม่ ส่งผลให้ผิวหนัง ดวงตา ของคุณแม่มีสุขภาพที่ดี ซึ่งแหล่งวิตามินดีสามารถหาได้จาก นม น้ำผลไม้ ปลาแซลมอน และการได้รับแสงแดดก็สามารถกระตุ้นร่างกายให้สังเคราะห์วิตามินดีได้เช่นกัน


โภชนาการคุณแม่ที่ควรได้รับ

โดยทั่วไปแล้วแคลเซียมสำหรับคนท้องจะมีความต้องการประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งหมายความว่าคุณแม่ควรที่จะรับประทานอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากนมให้ได้อย่างน้อย 3 อย่างในแต่ละวัน ยกตัวอย่างเช่น นม ชีส และโยเกิร์ต
หรืออาหารอื่นๆ บางชนิดที่มีแคลเซียม แต่มีในปริมาณที่น้อยกว่า เช่น
• ผักใบเขียว (ได้แก่ ผักโขม บรอคโคลี และอื่นๆ) ผลไม้ และธัญพืช
• ปลาซาร์ดีนในน้ำมัน ปลาแอนโชวี่ อัลมอนด์ และมะเดื่อแห้ง
ส่วนวิตามินดีจะมีอยู่ในอาหารในปริมาณเล็กน้อย แหล่งอาหารที่มีวิตามินดีมากที่สุดคือ ปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาแซลมอน และไข่ ส่วนมากวิตามินดีมักถูกสร้างขึ้นมาจากการที่ผิวหนังได้รับแสงแดดมากกว่า

green vegetables for calcium pregnancy


เคล็ดลับสำหรับคุณแม่

• รับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียมจากอาหารหลากหลายชนิด
• เพิ่มปริมาณแคลเซียมอย่างง่ายๆ ด้วยการเพิ่มผลิตภัณฑ์นม และชีสในอาหารแต่ละมื้อ เช่น การโรยเนยแข็งพาเมซาน (parmesan cheese) ลงบนพาสต้า โดยเนยแข็งพาเมซาน 1 ช้อนชามีปริมาณแคลเซียมสูงถึง 120 กรัม หรือการใช้นมเป็นส่วนประกอบในการประกอบอาหารที่บ้าน เช่น มันบด เป็นต้น
• ถ้าหากคุณแม่ไม่สามารถรับประทานผลิตภัณฑ์นมได้ คุณแม่สามารถปรึกษาคุณหมอ เรื่องการรับประทานแคลเซียมในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแทน
• วิธีการที่ดีที่สุดที่คุณแม่จะได้รับวิตามินดี คือ การออกไปเดินเล่นเมื่อไรก็ตามที่มีแสงแดด อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงแสงแดดที่จัดเกินไประหว่างเวลา 12:00 น. และ 16:00 น. เริ่มต้นจากการออกมารับแสงแดดไม่เกินวันละห้านาที และอาจจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ได้ถึง 15 นาทีต่อวัน ให้ร่างกายรับแสงแดด แต่พยายามปกปิดใบหน้าไม่ให้ได้รับแสงแดดโดยตรง

อ้างอิง:
1. Parasites – Toxoplasmosis (Toxoplasma infection) Disease". July 10, 2014. Archived from the original on 22 August 2015. Retrieved 22 August 2015.
2. Hunter, CA; Sibley, LD (November 2012). "Modulation of innate immunity by Toxoplasma gondii virulence effectors". Nature Reviews Microbiology. 10 (11): 766–78.
3. Womenshealth.gov [Internet]. Washington, D.C.: Office on Women’s Health in the Office of the Assistant Secretary for Health in the US Department of Health and Human Services; [updated 2010 Sept. 27; cited 2016 Nov 3].