อาการแพ้ท้องเกิดจากอะไร? 9 วิธีลดอาการแพ้ท้อง
อาการแพ้ท้องคืออะไร?
โดยส่วนใหญ่อาการแพ้ท้องมักจะมาในช่วงเช้า เพราะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนตั้งครรภ์สูงที่สุด คุณแม่จะรู้สึกไวต่อกลิ่น และรสชาติอาหาร จนเกิดอาการ วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น
สาเหตุของอาการแพ้ท้อง
สาเหตุของอาการแพ้ท้องยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกี่ยวข้องกับสภาวะต่างๆดังนี้
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดลงในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาการแพ้ท้องจะค่อยๆหายไปหลังพ้นไตรมาสแรก
- สภาวะทางจิตใจที่มีความเครียด ที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
อาการแพ้ท้องอันตรายต่อทารกในครรภ์มั้ย?
คุณแม่ส่วนใหญ่มักแพ้ท้องอย่างหนักในช่วงไตรมาสแรก ไวต่อกลิ่น รู้สึกคลื่นไส้ อยากอาเจียน จนทำให้รับประทานอาหารไม่ได้ ซึ่งอาจส่งผลเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารที่จำเป็นทั้งตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ ทำให้เจ้าตัวน้อยได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่วนคุณแม่ก็ขาดวิตามินจำเป็น หากคุณแม่มีอาการแพ้ท้องหนักมากจนไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาค่ะ
อาการแพ้ท้องแบบไหนเรียกว่ารุนแรง?
อาการแพ้ท้องรุนแรงคือ อาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง และแพ้ท้องนานกว่าปกติ มีการอาเจียนมากกว่า 3-4 ครั้งต่อวัน ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เกิดอาการขาดน้ำ อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ มึนงง จึงควรรีบพบแพทย์โดยเร็วเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ค่ะ
9 วิธีรับมือกับอาการแพ้ท้อง และวิธีดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่
1. ป้องกันท้องว่างด้วยการดื่มน้ำอุ่นๆทันทีหลังตื่นนอน แล้วนอนต่ออีก 15 นาที ไม่ควรลุกจากเตียงทันทีเพราะจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด ส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
2. ทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อย แบ่งเป็น 5 -6 มื้อต่อวัน โดยเลือกทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ลองเลือกเมนูอาหารคนท้องในช่วงไตรมาสแรกเพื่อบำรุงสุขภาพคุณแม่และลูกในครรภ์
3. เลือกทานอาหารย่อยง่าย มีรสอ่อน หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด หรือรสจัด ควรเตรียมอาหารว่างเอาไว้สำหรับทานก่อนนอน และตอนตื่นนอน เช่น คุกกี้ อัลมอนด์แบบไม่ปอกเปลือก ขนมปังปิ้ง แครกเกอร์ บิสกิต เป็นต้น
4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก และมีกลิ่นรุนแรง เพราะ คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีประสาทการรับกลิ่นไวขึ้น
5. ทานวิตามินสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หรือนมที่มีจุลินทรีย์ดี เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เพราะเป็นแหล่งของโพรไบโอติกส์อย่าง LPR น้ำเปล่าทีละน้อยตลอดวัน และการหลีกเลี่ยงน้ำอัดลม หรือน้ำหวานต่างๆ ก็ช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ได้
6. พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามทำใจให้สบายด้วยการอ่านหนังสือ ฟังเพลง เพื่อลดความเครียด และความอ่อนล้าซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีการแพ้ท้องมากขึ้น
7. จิบน้ำขิงบ่อยๆ ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ ซึ่งควรเป็นน้ำขิงที่มีปริมาณขิงเล็กน้อยไม่เผ็ดมากหรือร้อนเกินไป
8. ลดอุณหภูมิอาหาร เพราะอาหารที่มีอุณหภูมิร้อนจะมีกลิ่นอาหารโชยมากขึ้น ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความไวต่อกลิ่น เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
9. หากมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ให้ปรึกษาแพทย์ทันที
เอกสารอ้างอิง
- 3 เทคนิค “ลดอาการแพ้ท้อง” | โรงพยาบาลเปาโล - Paolo Hospital
- แพ้ท้อง - พบแพทย์ (pobpad.com)
- ท้อง 3 เดือน กับความเปลี่ยนแปลงที่คุณแม่ควรรู้ - พบแพทย์ (pobpad.com)
- Hyperemesis Gravidarum (อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง) - พบแพทย์ (pobpad.com)
- แพ้ท้องอยู่ใช่ไหม ต้องทำอย่างไรมีคำตอบ
- คุณแม่ตั้งครรภ์กับความเสี่ยงในไตรมาสแรก
- ความหมาย HYPEREMESIS