แม่ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารก อายุครรภ์ 8 สัปดาห์
สรุป
- อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ สามารถอัลตราซาวด์ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ได้แล้ว
- คุณแม่ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ ยังคงมีอาการแพ้ท้อง ควรจิบน้ำขิงอุ่น ๆ เป็นประจำ จะช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้
- หากอารมณ์ของคุณแม่ขึ้น ๆ ลง ๆ หรือวิตกกังวลมาก ควรหาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่น เดินออกกำลังกาย รับแสงแดดในยามเช้า เลือกเพลงฟังสบาย ๆ ไปพร้อมกับลูกในท้อง
ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
แม่ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ ยังมีอาการแพ้ท้องเกิดขึ้น บางคนอาจมีอาการแพ้ท้องเพียงเล็กน้อย แต่บางคนมีอาการแพ้ท้องอย่างหนัก ทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ควรเลือกดื่มน้ำสมุนไพรที่ช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ เช่น น้ำขิงอุ่น ๆ
ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน
ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ เป็นช่วงเวลาสิ้นสุดเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์
ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ ลูกอยู่ตรงไหน
ทารก 8 สัปดาห์ เจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนอยู่ภายในมดลูก
พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 8 สัปดาห์ เป็นอย่างไร
1. ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ ทารกมีขนาดตัวเท่าใด
อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะมีความยาว 5 เซนติเมตร หากอัลตราซาวด์จะเห็นอวัยวะต่าง ๆ มีลักษณะรูปร่างของทารก
2. ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ ลูกดิ้น แล้วหรือยัง
ช่วงการตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ คุณแม่จะยังไม่สามารถสัมผัสได้ว่าลูกดิ้นแล้ว จนกว่าจะถึงประมาณสัปดาห์ที่ 16 เป็นต้นไป คุณแม่จึงจะรู้สึกได้ถึงการกระตุกเบา ๆ ภายในท้อง
3. อวัยวะและระบบต่าง ๆ
อวัยวะของลูกจะเกิดขึ้นครบทุกอย่างแล้ว อีกทั้งยังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเห็นสายสะดือแล้ว
การเปลี่ยนแปลงร่างกายของคุณแม่ อายุครรภ์ 8 สัปดาห์
ร่างกายของแม่ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ ภายนอกอาจยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก โดยเฉพาะคุณแม่ท้องแรก แต่ภายในร่างกายของคุณแม่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย เพื่อเตรียมพร้อมกับการเติบโตของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ การหากิจกรรมทำเพื่อผ่อนคลายความเครียด ลดอาการวิตกกังวลก็สำคัญ เช่น
- ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่ควรหักโหม เช่น การเดินเล่นรับแสงแดดในยามเช้า ว่ายน้ำเบา ๆ หรือเล่นโยคะสำหรับคนท้อง
- เลือกเพลงโปรด นั่งฟังเพลิน ๆ ที่สวนสาธารณะ
- ดูหนังหรือซีรีย์ที่มีเนื้อหาสบาย ๆ ไม่หนักจนเกินไป หรืออ่านหนังสือให้รู้สึกผ่อนคลาย
อาการคุณแม่ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ เป็นแบบไหน
- อาการเหนื่อยล้า อาการเหนื่อยล้าเกิดขึ้นได้จากความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และฮอร์โมนคนท้อง ทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ได้ง่ายกว่าปกติ
- อาการเจ็บคัดเต้านม หน้าอกของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้น รู้สึกเจ็บคัดตึงเต้านมคล้ายกับช่วงที่มีประจำเดือน เพราะเลือดจะไปเลี้ยงที่หน้าอกมากขึ้น
- ปัสสาวะบ่อยครั้ง มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น ประกอบกับเลือดที่มาหล่อเลี้ยงอุ้งเชิงกราน ทำให้คุณแม่ปัสสาวะได้บ่อย
- ท้องอืดมีแก๊สในกระเพาะอาหาร คุณแม่ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ จะรู้สึกถึงอาการท้องอืด มีลมหรือแก๊สในกระเพาะอาหารได้ จากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ร่างกายผลิตมากขึ้น
- อารมณ์แปรปรวน ฮอร์โมนคนท้องมีการเปลี่ยนแปลง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ เกิดอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดได้ง่าย
- เป็นตะคริวและมีเลือดออกกะปริบกะปรอย อาการตะคริวของคุณแม่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รวมถึงการขาดน้ำในร่างกาย คุณแม่จึงควรจิบน้ำบ่อย ๆ และหมั่นเปลี่ยนอิริยาบถ ให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น
อาหารคนท้อง 8 สัปดาห์ ควรกินอะไรบ้าง
ตั้งแต่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ขึ้นไป จนถึง 3 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายของลูก ต้องการสารอาหารไปช่วยเรื่องพัฒนาการทางด้านสมอง โดยเฉพาะไอโอดีน เพื่อไปสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน สารสำคัญที่ช่วยพัฒนาสมอง รวมถึงกลุ่มโปรตีนและเกลือแร่ ที่ควรบริโภคเป็นประจำ
การอัลตราซาวด์เมื่อตั้งครรภ์ได้ 8 สัปดาห์
การอัลตราซาวด์ในอายุครรภ์ 8 สัปดาห์ จะสามารถได้ยินเสียงหัวใจของลูกได้แล้ว
ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์
คุณแม่ที่ยังไม่ไปฝากครรภ์ ควรฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ หากคุณแม่ฝากครรภ์เร็วจะมีข้อดี ดังนี้
- แพทย์สามารถตรวจคัดกรองความเสี่ยงได้เร็ว
- หากพบว่าคุณแม่มีภาวะเสี่ยง แพทย์จะดูแลอย่างใกล้ชิดหรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อคอยดูแลสุขภาพของคุณแม่
- การฝากครรภ์จะมีการตรวจโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย เพื่อที่แพทย์จะให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพของคุณแม่อย่างเหมาะสม
- การฝากครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดกับทารกในครรภ์ได้
อาหารและกิจกรรมที่คุณแม่ท้อง 8 สัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยง
คุณแม่ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดทุกอย่าง รวมถึงอาหารที่มีกลิ่นรุนแรงที่จะไปกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ท้องมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และงดสูบบุหรี่
ช่วงอายุครรภ์ 8 สัปดาห์ เป็นช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงในการแท้งได้ จึงต้องระมัดระวังการใช้ชีวิต และคอยสังเกตความผิดปกติในร่างกายเป็นประจำ หากพบว่า มีเลือดออกจากช่องคลอด หรือมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์
การตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์
คุณหมอจะนัดตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ได้ 24-28 สัปดาห์
อ้างอิง:
- สุขใจ ได้เป็นแม่, UNFPA
- 5 อาการที่พบบ่อยในคนท้อง, สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย
- กรมอนามัย แนะหญิงท้องหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หมักดอง เน้นกินปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ นม, สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย
- คุณแม่ตั้งครรภ์กับความเสี่ยงในไตรมาสแรก, โรงพยาบาลสมิติเวช
- คำแนะนำการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยมารดา, โรงพยาบาลรามคำแหง
อ้างอิง ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2566