MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ ดูแลครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่
บทความ

PLAYING: แม่ตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารก อายุครรภ์ 3 สัปดาห์

Add this post to favorites

แม่ตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาการทารก อายุครรภ์ 3 สัปดาห์

เคล็ดลับโภชนาการคุณแม่ตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์ การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย คนท้องต้องดูแลตัวเองอย่างไร ตัวอ่อนน้อยๆ ที่เริ่มเจริญเติบโตต้องมีพัฒนาการในครรภ์แบบไหน

2นาที อ่าน

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับคุณแม่ที่เพิ่งทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ก่อนเลย หลังจากนี้ไปอีกเก้าเดือน คุณก็จะพบสิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดที่ธรรมชาติมอบให้แค่ผู้หญิงอย่างเราเท่านั้นที่สัมผัสได้ แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความน่ายินดีนี้มักจะตามมาด้วยความกังวลใจไม่น้อย วันนี้จึงจะมาขอแนะนำเคล็ดลับการเตรียมตัวง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่มือใหม่กลายเป็นคุณแม่ที่สามารถเลี้ยงลูกน้อยให้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์แบบได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์

Happy woman holding pregnancy test on the bed

พัฒนาการของทารกในครรภ์

การตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 หัวใจของลูกน้อยจะเริ่มเต้น ตัวอ่อนหรือเอ็มบริโอของลูกในครรภ์จะมีการสร้างเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คือ
• เนื้อเยื่อชั้นใน (Endoderm) จะเจริญไปเป็นระบบทางเดินอาหาร ตับ ตับอ่อน และอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ
• เนื้อเยื่อชั้นนอก (Ectoderm) จะเจริญไปเป็นระบบประสาทและอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งผิวหนัง เล็บและผม
• เนื้อเยื่อชั้นกลาง (Mesoderm) จะเจริญเป็นระบบกระดูก หัวใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ อวัยวะเพศ
ในช่วงกลางของ Mesoderm คือ โนโตคอร์ด (Notochord) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นกระดูกสันหลังชั่วคราว และเริ่มสร้างระบบประสาทส่วนกลาง สมองและศีรษะในอนาคต ซึ่งตัวอ่อนเริ่มพัฒนาจากประมาณ 0.4 มม. ในช่วงต้นสัปดาห์ ไปเป็น 1.5-2.5 มม. ในสิ้นสัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่

ในไตรมาสที่ 1 ร่างกายของคุณแม่จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง คุณแม่บางท่านที่ยังไม่รู้ว่าตั้งครรภ์ จะสังเกตได้ถึงภาวะอาการประจำเดือนขาด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ และจะทราบข่าวดีว่ากำลังจะได้เริ่มการเดินทางสุดมหัศจรรย์ของการเป็นคุณแม่

Healthy Nutrition for Pregnancy

โภชนาการคุณแม่ที่ควรได้รับ

ในช่วง 3 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ว่าที่คุณแม่ควรจะดูแลตัวเองให้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องโภชนาการคุณแม่ ควรจะกินอาหารที่มีประโยชน์ และคำถามหนึ่งที่คุณแม่สงสัย คือ “คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องกินอาหารเป็นสองเท่า จริงหรือไม่?” คำตอบคือ คุณแม่ไม่จำเป็นต้อง "Eat for two" ซึ่งหมายถึงสองเท่าจากปกติ แต่คุณแม่ต้องเลือกอาหารที่มีประโยชน์สูง มีสารอาหารสำคัญครบถ้วน ซึ่งสารอาหารสองชนิดที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการเด็กในครรภ์คือ
• กรดโฟลิก ช่วยป้องกันและลดปัญหาความผิดปกติของระบบสมองและระบบประสาทของทารกในครรภ์ เรียกว่า ภาวะไขสันหลังไม่ปิด ซึ่งสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ เพราะกรดโฟลิกเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาท่อระบบประสาทของทารกให้พัฒนาไปเป็นกระดูกสันหลังและสมอง นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายสร้างเซลล์ใหม่ ซึ่งกรดโฟลิกสามารถหาได้จากผักใบเขียวเข้มอย่าง ผักคะน้า และผักขม ถั่วและถั่วแห้ง, ส้ม, ซีเรียลเสริมกรดโฟลิก และเมล็ดธัญพืชเสริมกรดโฟลิก ก็ถือเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิกอีกด้วย
• ธาตุเหล็ก นอกจากในภาวะปกติที่คนเราจะต้องการธาตุเหล็กเพื่อมาเสริมสร้างเม็ดเลือดให้กับตัวเองแล้ว ในช่วงตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์ ยิ่งเป็นช่วงที่จำเป็นต้องได้รับธาตุเหล็กในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อป้องกันคุณแม่จะเกิดภาวะเลือดจาง ที่จะส่งผลไปถึงกระบวนการสร้างอวัยวะต่างๆ ของเด็ก และการเจริญเติบโตทางร่างกาย และสมองของทารก คุณแม่จึงควรได้รับสารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อแดง ปลา สัตว์ปีก ถั่วแห้ง ถั่วและถั่วฝักยาว ผักขม ผลไม้แห้ง ตับ ไข่ ธัญพืช และซีเรียลเสริมธาตุเหล็ก ฯลฯ เพื่อสร้างฮีโมโกลบินที่จะช่วยนำพาออกซิเจนผ่านทางกระแสเลือด ที่เป็นจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ และเพื่อการเจริญเติบโตที่ดีของลูกน้อยในครรภ์ นอกจากนี้คุณแม่ยังต้องเสริมอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น ส้ม มะเขือเทศและสตรอเบอร์รี่ จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากแหล่งธาตุเหล็กที่ไม่ได้มาจากสัตว์อีกด้วย

เคล็ดลับสำหรับคุณแม่

เมื่อเริ่มตั้งครรภ์แล้ว ว่าที่คุณแม่ควรปรับเปลี่ยนวิธีการกินเพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกายและทารกที่กำลังเจริญเติบโตในครรภ์ โดยเฉพาะ 3 สัปดาห์แรก อาหารบางอย่างควรหลีกเลี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากการปนเปื้อนของสารพิษที่อาจเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ เช่น อาหารทะเลสด หอยนางรมดิบ ซูชิและซาชิมิ และแม้แต่ปลาแซลมอน เนื้อสัตว์ปีก และไข่ดิบหรือไข่ที่ปรุงไม่สุก อาจมีแบคทีเรียที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณ ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาดเท่านั้น รวมไปถึงหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกินของหวานมากเกินไป ที่สำคัญไม่ควรสูบบุหรี่อย่างยิ่ง

อ้างอิง:
1. Mennella JA, Jagnow CP, Beauchamp GK: Prenatal and Postnatal Flavor Learning by Human Infants. Pediatrics 2001, 107: -e88.
2. Seron-Ferre M, Torres-Farfan C, Forcelledo ML, Valenzuela GJ: The development of circadian rhythms in the fetus and neonate. Seminars in Perinatology 2001, 25: 363-370.
3. Swaiman KF: Pediatric neurology: principles & practice, 5th edn. Philadelphia: Elsevier/Saunders; 2012.
4. Weaver LT, Austin S, Cole TJ: Small intestinal length: a factor essential for gut adaptation. Gut 1991, 32: 1321-1323.
5. MedlinePlus [Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); [updated 2016 Oct 05]. Fetal development; [reviewed 2015 Sept 26; cited 2016 Oct 27]; [about 2 p.]. Available from: https://medlineplus.gov/ency/article/002398.htm