MyFeed Personalized Content
รวมเคล็ดลับ ดูแลครรภ์ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่
บทความ

PLAYING: อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ และพัฒนาการทารกในครรภ์

Add this post to favorites

อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ และพัฒนาการทารกในครรภ์

ช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ถึงเวลาที่ลูกน้อยจะได้ออกมาเจอคุณแม่แล้ว มาเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการของคุณแม่ระหว่างคลอดเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกันเถอะ

1นาที อ่าน

ถึงเวลาคลอดแล้ว! คุณแม่จะได้เจอกับลูกน้อยในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ตลอดการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องน่าอัศจรรย์เกิดขึ้นมากมายภายในท้องของคุณแม่ และจะยังคงเกิดขึ้นอีกเมื่อเจ้าตัวเล็กได้ออกมาเจอโลกกว้าง ยินดีด้วยนะคะ

Mother Holding Newborn Baby.
พัฒนาการของทารกอายุครรภ์ 40 สัปดาห์

คุณแม่ตั้งครรภ์ 40สัปดาห์ ซึ่งเป็นสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้ว ตอนนี้ลูกน้อยพร้อมที่จะลืมตาดูโลกเต็มที่ แต่แม้พัฒนาการของทารกในครรภ์จะพัฒนาสมบูรณ์แล้ว ลูกจะยังคงเติบโตได้ขณะที่รอคอยวันสำคัญที่กำลังมาถึง

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์

สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้วคุณแม่ใกล้คลอดมากขึ้นทุกที ร่างกายของคุณแม่เตรียมพร้อมเต็มที่รวมถึงความรู้สึกตื่นเต้นและประหม่าเมื่อสัมผัสได้ถึงแรงจากเท้าน้อยๆ ที่กำลังเตะมดลูกและเคลื่อนตัวลงมาบริเวณอุ้งเชิงกรานมากขึ้นเพื่อเตรียมออกมาเจอโลกภายนอก โดยกระดูกศีรษะของลูกจะยังไม่เชื่อมปิดสนิทดีนัก ทำให้เมื่อถึงตอนคลอดศีรษะของลูกจะเคลื่อนที่ผ่านช่องคลอดของแม่ได้อย่างสบายๆ ก่อนที่กระหม่อมจะปิดสนิทเมื่อลูกมีอายุได้ 18 เดือนหลังคลอด

โภชนาการที่คุณแม่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ควรได้รับ

ในช่วงเวลาใกล้คลอด แพทย์หรือบุคคลากรของทางโรงพยาบาลจะเป็นคนคอยให้คำแนะนำว่าคุณแม่สามารถดื่มหรือทานอะไรได้บ้าง แต่ในกรณีที่แพทย์จำเป็นต้องให้ยาระงับความรู้สึกระหว่างคลอด คุณแม่อาจไม่ได้รับอนุญาตให้ทานอะไรเลยนอกจากการอมน้ำแข็ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสำลักน้ำหรือเศษอาหารเข้าปอดในช่วงที่คุณแม่ไม่รู้สึกตัว แต่ถ้าแพทย์เห็นว่าร่างกายของคุณแม่มีความเสี่ยงต่ำจากอาการแทรกซ้อนต่างๆ ถ้าคุณแม่หิวหรือกระหายสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อแนะนำอาหารและเครื่องดื่มที่คุณแม่สามารถทานได้ก่อนถึงเวลาคลอด

เราขอแสดงความยินดีกับคุณแม่คนใหม่ด้วยค่ะ

อ้างอิง:
1. Mennella JA, Jagnow CP, Beauchamp GK: Prenatal and Postnatal Flavor Learning by Human Infants. Pediatrics 2001, 107: -e88.
2. Seron-Ferre M, Torres-Farfan C, Forcelledo ML, Valenzuela GJ: The development of circadian rhythms in the fetus and neonate. Seminars in Perinatology 2001, 25: 363-370.
3. Swaiman KF: Pediatric neurology: principles & practice, 5th edn. Philadelphia: Elsevier/Saunders; 2012.
4. Weaver LT, Austin S, Cole TJ: Small intestinal length: a factor essential for gut adaptation. Gut 1991, 32: 1321-1323.
5. MedlinePlus [Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); [updated 2016 Oct 05]. Fetal development; [reviewed 2015 Sept 26; cited 2016 Oct 27]; [about 2 p.]. Available from: https://medlineplus.gov/ency/article/002398.htm